Page 275 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 275

มีจำนวน ๖ บริษัท มีลูกจ้างรวมทั้งสิ้น ๑,๔๐๐ คน ในขณะที่ลูกจ้างของผู้ถูกร้องมีเพียง ๑,๖๐๐ คน
                    ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงได้รับความไม่เป็นธรรมจากนายจ้างของตน เช่น ลูกจ้างต้องจ่ายค่าฝึกงาน
              คนละ  ๑,๐๐๐  บาท  จ่ายค้าชุดทำงานราคาแพง  ไม่ได้รับสวัสดิการดังที่ลูกจ้างของผู้ถูกร้องได้รับ  เช่น
              การปรับค่าจ้างประจำปี เมื่อลูกจ้างเหล่านี้เรียกร้องสิทธิตามกฎหมายหรือสภาพการจ้างที่เป็นธรรมผู้ถูกร้อง
              จะใช้วิธีการเปลี่ยนตัวลูกจ้างและให้บริษัทรับเหมาค่าแรงโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานที่อื่น  ลูกจ้างเหล่านี้
              ไม่สามารถยื่นข้อเรียกร้องกับผู้ถูกร้อง เพราะผู้ถูกร้องอ้างว่าตนมิใช่นายจ้างที่แท้จริง เป็นการขัดต่อปฏิญญา
              สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  รัฐธรรมนูญและอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ  ในเรื่องสิทธิการ
              รวมตัว และการเจรจาต่อรองร่วม
                    ๒. คำร้องเลขที่รับที่ ๒๒๗/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๗ กรณีบริษัท บี เอ็น จี เซอร์วิส จำกัด
              ซึ่งเป็นผู้รับเหมาค่าแรงของผู้ถูกร้อง มีคำสั่งย้ายที่ทำงานและให้ลูกจ้างลงชื่อในใบลาออกโดยมิได้สมัครใจ
              นางสาวบุญตา จีนเมือง กับพวกรวม ๖ คน เป็นผู้ร้อง
                    ผู้ร้องอ้างว่า บี เอ็น จี เซอร์วิส จำกัด ละเมิดสิทธิของลูกจ้างหลายเรื่อง เช่น หักเงินค่าจ้างของลูกจ้าง
              เพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม แต่ลูกจ้างไม่ได้รับบัตรประกันสังคมแม้เวลาผ่านไป ๗-๘ เดือน และจะย้าย
              ลุกจ้าไปทำงานที่อื่น โดยให้เขียนใบลาออก เมื่อลุกจ้างจำนวน ๓๕ คน ไม่ยอมปฏิบัติตามจึงถูกลงโทษโดย
              การเตือนเป็นหนังสือ และเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยในที่สุด
                     มีลูกจ้าง ๗ คน ในจำนวน ๓๕ คน ไม่พร้อมที่จะใช้สิทธิทางศาล จึงลาออกจากงานโดยไม่ได้รับเงิน
              ช่วยเหลือใด ๆ
                    ๓. คำร้องเลขรับที่ ๒๑๖/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ กรณีผู้ถูกร้อง เลิกจ้างลูกจ้างหญิงใน
              ระหว่างตั้งครรภ์ จำนวน ๑๐ คน นางสางอัมพร พลเรือง กับพวกรวม ๑๐ คน เป็นผู้ร้อง
                    เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๖ฃ๕๔๗ บริษัทผู้ถูกร้องมีหนังสือเลิกจ้างลุกจ้างจำนวน ๒๐๐ คน อ้างเหตุ
              ว่าบริษัทต้องการลดขนาดองค์กร  เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๕๔๒  เป็นต้นมา
              ในจำนวนดังกล่าวนี้มีลูกจ้างหญิงมีครรภ์รวมอยู่ด้วยจำนวน ๑๐ คน ทำให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ได้รับความ
              เดือดร้อนเป็นอันมาก และกระทบต่อเด็กในครรภ์ด้วย

              ความต้องการของผู้ร้อง
                    จากคำร้องทั้ง ๔ คำร้อง ผู้ร้องประสงค์ขอให้คระกกรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบและแก้ไข
              ปัญหา ดังนี้
                    ๑. ให้ตรวจสอบว่าคำสั่งของผู้ถูกร้องที่ห้ามติดประกาศหรือแจกจ่ายเอกสารสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ในบริษัท ฯ
              เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือไม่ หากไม่ชอบก็ให้
              ผู้ถูกร้องยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย
                    ๒. ให้ตรวจสอบว่า การจ้างเหมาค่าแรงในงานที่เป็นกระบวนการผลิตของผู้ถูกร้องเป็นการละเมิดสิทธิ
              มนุษยชน รัฐธรรมนูญ และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือไม่
                    ๓. ให้แก้ไขปัญหากรณีบริษัท บี เอ็น จี เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาค่าแรงจากผู้ถูกร้อง
              ให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกโดยไม่สมัครใจ
                    ๔. ให้แก้ไขปัญหากรณีผู้ถูกร้องเลิกจ้างหญิงมีครรภ์โดยไม่เป็นธรรม

              การดำเนินการตรวจสอบ
                    เนื่องจากคำร้องทั้ง  ๔  คำร้อง  มีความเกี่ยวพันกัน  และเหตุแห่งการร้องเรียนว่ามีการละเมิด
              สิทธิมนุษยชน เกี่ยวข้องกับผู้ถูกร้องและบริษัทรับเหมาค่าแรงที่ผู้ถูกร้องเป็นผู้ว่าจ้าง คณะอนุกรรมการ ฯ จึง
              มีมติให้รวมการพิจารณาคำร้องทั้ง ๔ เข้าด้วยกัน ปรากฏตามมติคณะอนุกรรมการ ฯ ครั้งที่ ๑๐/ ๒๕๔๗ ลง

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๗๕





     Master 2 anu .indd   275                                                                     7/28/08   9:23:17 PM
   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280