Page 281 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 281
ล้านบาท และ ๑๗๒ ล้านบาท ตามลำดับ ผู้ถูกร้องก็ยังคงประกอบการตามปกติ และมีการแจ้งจ้างเหมา
ค่าแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา ไม่มีการปรับลดองค์กรแต่อย่างใด และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ถูกร้อง
ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อจะแก้ไขปัญหาการขาดทุน โดยเฉพาะการปรับลดองค์กรดังที่ผู้ถูกร้องอ้าง แต่เมื่อ
ผู้ถูกร้องทราบว่า ผู้ร้องยื่นข้อเรียกร้องในครั้งนี้ ผู้ถูกร้องจึงอ้างเหตุผลในการปรับขนาดองค์กรอันเนื่องมาจาก
ผลประกอบการขาดทุน เพื่อเป็นเหตุผลในการเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งรวมทั้งหญิงมีครรภ์ ดังกล่าว
การประกาศนโยบายให้ลูกจ้างสมัครใจลาออก และเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน ๒๙๗ คน เกิดขึ้นหลังจาก
มีข้อพิพาทแรงงานระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้อง เนื่องจากผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้ถูกร้องยกเลิกการจ้างเหมาค่าแรง
และบรรจุลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงเป็นลูกจ้างของผู้ถูกร้อง ให้จ่ายเงินค่าครองชีพแก่ลูกจ้างหญิงมีครรภ์
เดือนละ ๓๐๐ บาทเป็นเวลา ๖เดือน ค่าฝากครรภ์ ครรภ์ละ ๑,๐๐๐๐ บาท จัดห้องน้ำสำหรับลูกจ้างหญิง
มีครรภ์โดยเฉพาะ และจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ ซึ่งต่อมาผู้ถูกร้องจึงได้ยื่นข้อเรียกร้องในส่วน
เรื่องการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายเงินโบนัส ให้ขึ้นกับดุลยพินิจของผู้ถูกร้องให้ยกเลิกสวัสดิการ
รถรับส่งทุกสายและเงินช่วยเหลือค่าพาหนะในการประชุมของผู้ร้องปีละ ๔๐,๐๐๐ บาท
ต่อมามีการเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงาน กรรมการลูกจ้างทั้งคณะ และกรรมกาสหภาพแรงงาน
ที่มาจากการเลือกตั้งซ่อม จำนวน ๖ คน แม้จะอยู่ในเงื่อนไขการคุ้มครองของพะราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ ก็ตาม มูลเหตุสำคัญของการเลิกจ้างคือการตอบโต้การเรียกร้องของผู้ร้องดังกล่าว
นอกจากนี้ ก่อนเลิกจ้างเพียง ๑ วัน ผู้ถูกร้องได้ดำเนินกาเพื่อตรวจสอบเรื่องการตั้งครรภ์ของลูกจ้าง
หญิงด้วย
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า เหตุผลที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ต้องมีบทคุ้มครอง
ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ เพราะต้องการคุ้มครองแรงงานหญิงพิเศษ เนื่องจากสภาพทางสรีระของหญิงที่ต้องมีครรภ์
และคลอดบุตร ซึ่งเป็นการสืบทอดเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติ กฎหมายคุ้มครองแรงงานจึงกำหนดมาตรการ
การคุ้มครองไว้หลายประการ เช่น การลดชั่วโมงการทำงาน ห้ามนายจ้างใช้หญิงมีครรภ์ทำงานในเวลาดึก
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงย้ายงานชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอด และการลาเพื่อการคลอดโดยได้รับค่าจ้าง
ตามปกติ โดยเฉพาะ มาตรา ๔๓ บัญญัติว่า “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์”
เมื่อผู้ถูกร้องอ้างว่าจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างจำนวนมากเพื่อลดขนาดองค์กรลงเนื่องจากประสบภาวะ
การขาดทุน แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าผู้ถูกร้องได้ว่าจ้างผู้รับเหมาค่าแรงให้มาทำงานในกระบวนการผลิต
แทนจำนวนมาก การเลิกจ้างลูกจ้างหญิงมีครรภ์จำนวนเพียง ๑๐ คน จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไร้ความชอบธรรม
และก่อผลกระทบและความเดือดร้อนให้กับลูกจ้างหญิงมีครรภ์ ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทั้ง ๑๐ คน ทำงานให้
ผู้ถูกร้องมาไม่น้อยกว่า ๗–๑๐ ปีแล้ว มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนต่อคนไม่น้อยกว่า ๗,๐๐๐ บาท มีภาระค่าเช่าบ้าน
ค่าอาหาร ค่าเล่าเรียนบุตร เงินเหลือเก็บออมเลย เมื่อลูกจ้างในขณะมีครรภ์ทำให้เครียดมาก นอนไม่หลับ
คิดมาก วิตกกังวลว่ากระทบต่อลูกในครรภ์
การกระทำของผู้ถูกร้องจึงเป็นการละเมิดสิทธิของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็น
ธรรมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๔๑ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล แรงงานและ
วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ ทางเศรษฐกิจสังคม
และวัฒนธรรม ว่าด้วยสิทธิในครอบครัว ข้อ ๑๐ ความว่า “รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองว่า
๑. ครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยงานรวมของสังคมที่เป็นพื้นฐานและเป็นธรรมชาติควรได้รับความคุ้มครอง
และช่วยเหลืออย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในการจัดตั้งและในขณะที่ต้อง รับผิดชอบต่อการ
ดูแลและการศึกษาของเด็กที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้ การสมรสต้องกระทำโดยความยินยอมอย่างเสรีภาพของผู้ที่
เจตนาจะสมรส
๒. มารดาได้รับการคุ้มครองพิเศษระหว่างช่วงเวลาตามควรก่อนหรือหลังการให้กำเนิดบุตรในระหว่าง
ช่วงเวลาระยะเวลาเช่นว่า มารดาซึ่งทำงานควรได้รับอนุญาตให้ลาโดยรับค่าจ้าง หรือลาโดยมีสิทธิประโยชน์
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๘๑
Master 2 anu .indd 281 7/28/08 9:23:19 PM