Page 256 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 256
แต่ละฝ่าย และอภัยให้กัน เว้นแต่เป็นการกระทำที่เห็นเจตนาชัดเจนว่าประสงค์ร้ายหรือเป็นเรื่องร้ายแรง
ย่อมเป็นสิทธิของฝ่ายที่เสียหายใช้สิทธิตามกฎหมาย
ในการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้อง และในส่วนที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน
ไกล่เกลี่ย รวมทั้งสิ้น ๑๔ ครั้ง ก็ไม่มีความคืบหน้าในการเจรจาแต่อย่างใด ผู้ถูกร้องกลับออกประกาศ
ปรับปรุงสภาพการจ้างให้ลูกจ้าง โดยอ้างว่าถึงเวลาอันสมควรแล้วที่จะต้องปรับปรุงสวัสดิการ เพื่อความกินดี
อยู่ดีของ ลูกจ้างและครอบครัว ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ ซึ่งหากลูกจ้างยอมรับสภาพการจ้าง
ดังกล่าว เท่ากับลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่ติดใจข้อเรียกร้องของตนหรือที่ยื่นโดยผู้ร้องโดยปริยาย
การเจรจาต่อรองของ ผู้ร้องต้องเป็นอันยุติ ในการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้อง
พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้ถูกร้องไม่ยอมรับการใช้สิทธิของลูกจ้างเพื่อเป็น
สมาชิกของผู้ร้อง ซึ่งเป็นเรื่องของการจัดตั้งหรือการเข้าร่วมกับสหภาพแรงงานประเภทกิจการเดียวกัน ตามที่
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ กำหนดไว้ นำไปสู่ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกจ้างยกเลิก
การใช้สิทธิดังกล่าว อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิของลูกจ้างในการเข้าร่วมองค์กร และการเจรจาต่อรอง
ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิสหภาพแรงงาน และฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
ประเด็นที่สอง ผู้ถูกร้องไม่ให้ลูกจ้างที่ถูกปิดงานเข้าทำงานตามข้อตกลงและจัดอบรมลูกจ้าง
ดังกล่าว เป็นการทำผิดข้อตกลงและละเมิดสิทธิของลูกจ้างและผู้ร้องหรือไม่ เพียงใด และผู้ถูกร้อง
ต้องยุติการอบรมและให้ลูกจ้างเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิมหรือไม่
คณะอนุกรรมการเห็นว่า ตามบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ ซึ่งผู้ร้องและผู้ถูกร้อง
ได้ตกลงกันต่อหน้าพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ถูกร้องมีหน้าที่จัดการให้ลูกจ้างที่ถูก
ปิดงานกลับเข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เป็นต้นไป โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
ดังนั้นการที่ผู้ถูกร้องไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงาน แม้จ่ายค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ ให้ ก็เป็นการทำผิด
ข้อตกลงฉบับดังกล่าวอยู่ดี อีกทั้งเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและไม่สมควรอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการปฏิบัติ
ในลักษณะเหมารวมต่อลูกจ้างที่ถูกปิดงาน ในขั้นตอนที่รอการชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ที่ผู้ถูกร้องร่วมตกลงด้วย ถือเป็นการปฏิบัติที่ส่อไปในทางท้าทายหรือยั่วยุหรือก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ร้าว
ฉานมากขึ้น หากในระหว่างปิดงาน ลูกจ้างคนใดทำผิดหรือทำให้ผู้ถูกร้องได้รับความเสียหาย ผู้ถูกร้องย่อม
สามารถใช้สิทธิได้ตามกฎหมาย
เกี่ยวกับการจัดอบรมให้แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องและที่ถูกปิดงาน จำนวน ๒๖๐ คน ซึ่ง
ผู้ถูกร้องอ้างว่าลูกจ้างมีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ถูกร้อง จำเป็นต้องอบรมเพื่อปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมของลูกจ้างนั้น คณะอนุกรรมการได้พิจารณาคำชี้แจงของผู้ถูกร้อง แผนการอบรม และ
หนังสือชี้แจงของบริษัท เอ็น เอ คิว เอส จำกัด ประกอบแล้ว เห็นว่า ที่ผู้ถูกร้องอ้างว่าเป็นการอบรมเพื่อปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมของลูกจ้างก็ไม่เป็นความจริง เพราะตามหนังสือของบริษัท ผู้จัดอบรมระบุชัดเจนว่า ไม่มี
หลักสูตรการละลายพฤติกรรมของลูกจ้าง ผู้ถูกร้องประกาศให้ลูกจ้างทราบแผนการอบรมเป็นช่วงๆ เริ่มตั้งแต่
วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ โดยระบุว่า “หลังจากวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ แผนการอบรมจะต้องมีการ
พิจารณาในลำดับต่อไป” โดยลูกจ้างไม่ทราบว่าการอบรมจะสิ้นสุดในวันใด ในขณะที่หนังสือชี้แจงของบริษัท
ผู้จัดอบรมระบุว่า การอบรมมีเวลาชัดเจน โดยกำหนดสิ้นสุดวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐ ในขณะที่ผู้ถูกร้องได้
จัดการอบรมต่อไปอีกในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ และยืนยันว่าจะอบรมถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
หัวข้อหรือเนื้อหาในการอบรมมีจำนวนมากหลากหลายประเด็น และไม่ต่อเนื่องสัมพันธ์ ไม่มีหลัก
เกณฑ์หรือระบบประเมินผลการอบรม เห็นได้ว่าเป็นการอบรมที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่ผู้ถูกร้อง
อ้าง ยากแก่การประเมินผล และไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดังที่ลูกจ้างที่เข้าอบรมชี้แจง และแสดงออก
๒๕๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 256 7/28/08 9:23:06 PM