Page 253 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 253
จังหวัดระยอง เริ่มประกอบกิจการตั้งแต่ปี ๒๕๔๗
(๒) ผู้ถูกร้องได้จัดการอบรมสมาชิกของผู้ร้องที่เป็นลูกจ้างของผู้ถูกร้อง จำนวน ๒๖๒ คน โดยจ่าย
ค่าจ้าง และสวัสดิการให้ตามปกติ เหตุที่จัดอบรมเนื่องจากลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวมีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจ
ต้องการอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกจ้าง
จัดการอบรมโดยบริษัท เอ็น เอ คิว เอส จำกัด เริ่มอบรมตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
โดยผู้ถูกร้องได้ประกาศให้ลูกจ้างทราบแผนการอบรมเป็นช่วง ๆ ช่วงที่ ๑ วันที่ ๑ ถึง ๙ กุมภาพันธ์ ช่วงที่ ๒
วันที่ ๑๐ ถึง ๒๓ กุมภาพันธ์ ช่วงที่ ๓ วันที่ ๒๖ และวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ช่วงที่ ๔ ตั้งแต่วันที่ ๒ ถึง ๑๖
มีนาคม ช่วงที่ ๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ ถึง ๓๐ มีนาคม ช่วงที่ ๖ เดือนเมษายน และช่วงที่ ๗ ตั้งแต่วันที่ ๒ ถึง
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ หัวข้อการอบรมมีหลากหลาย รายละเอียดปรากฏตามแผนการฝึกอบรม
เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ นายสุทิน สุวรรณประทีป ผู้จัดการส่วนบริหารวัตถุดิบภายในโรงงาน
ของผู้ถูกร้อง ชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานว่า เหตุที่ต้องจัดอบรมต่อไปอีกเนื่องจากพบว่าแกนนำ
ของ ผู้ร้องที่เข้าอบรมได้พูดในทำนองว่าเป็นผู้ทำให้การผลิตของผู้ถูกร้องลดลง และจะทำเช่นนั้นอีกตามหลัก
ฐานการบันทึกเทปการฝึกอบรม แต่ผู้ถูกร้องมิได้สอบสวนหรือดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าว ส่วนนายอเนก
อรรถจินดา ยืนยันว่าจะยุติการอบรมในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ที่อ้างว่า พฤติการณ์ของลูกจ้างไม่น่าไว้วางใจนั้น หมายถึง กรณีในระหว่างที่ผู้ร้องยื่นข้อเรียกร้องต่อ
บริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ปรากฏว่าเกิดเหตุชิ้นส่วนการผลิตของนายจ้างถูกทำลาย
แม้ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าผู้ใดกระทำ ผู้ถูกร้องเกรงว่าจะเกิดเหตุดังกล่าวในสถานประกอบกิจการของผู้ถูก
ร้องได้เมื่อผู้ร้องมายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ถูกร้อง จึงจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างเดียวกันอีก
(๓) เมื่อเกิดเหตุการณ์รถยนต์ของผู้จัดการของผู้ถูกร้องถูกกรีดและถูกสาดด้วยกาว ผู้ถูกร้องจึงได้แจ้ง
บริษัท เจ เจ ฟอร์ด ฯ ให้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในโรงงานของผู้ถูกร้องมากขึ้น แต่จากเหตุการณ์
ดังกล่าวผู้ถูกร้องมิได้แจ้งความหรือร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะไม่มีหลักฐานว่าบุคคลใดเป็น
ผู้กระทำ ส่วนบริษัท เจ เจ ฟอร์ด ฯ จะจ้างบุคคลใดเข้ามาหรือไม่ผู้ถูกร้องไม่ทราบ และยืนยันว่าไม่มีการนำ
อาวุธติดตัวเข้ามา
นายเอนก อรรถจินดา ผู้จัดการส่วนบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้ถูกร้องยอมรับว่าบุคคลทั้ง ๔ ที่แต่ง
กายคล้ายทหารตามภาพถ่ายที่ผู้ร้องถ่ายไว้ ตนไม่ทราบว่าเป็นทหารหรือไม่ แต่ตนเป็นผู้ขับรถพาบุคคลทั้ง ๔
ตระเวนรอบ ๆ บริษัทของผู้ถูกร้อง เพื่อรักษาความปลอดภัย และเป็นการสำรวจพื้นที่ บุคคลดังกล่าวมาอยู่ที่
บริษัทฯ เพียงวันเดียว และบุคคลดังกล่าวรายงานเหตุการณ์ในบริษัทผู้ถูกร้องต่อนายอเนก ด้วยวาจา ซึ่ง
นายเอนก ไม่ทราบชื่อบุคคลทั้ง ๔
(๔) กรณีลูกจ้างขัดแย้งกันในเรื่องการเปลี่ยนเวลาทำงานและวันหยุดนั้น สืบเนื่องจากเดิม ผู้ถูกร้อง
กำหนดเวลาทำงานปกติ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. และทำงานวันเสาร์เว้นเสาร์ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ของ
ผู้ถูกร้องหยุดวันเสาร์ โดยเปลี่ยนเป็นเลิกงานเวลา ๑๗.๓๐ น. และให้หยุดวันเสาร์ ลูกจ้างในส่วนที่ถูกอบรม
จำนวน ๒๖๒ คน ไม่พอใจ จึงร้องเรียน ทำให้ผู้ถูกร้องต้องเปลี่ยนกลับไปใช้สภาพการจ้างเดิม คือเลิกงาน
เวลา ๑๗.๐๐ น. และทำงานในวันเสาร์เหมือนเดิม ทำให้ลูกจ้างที่ไม่เกี่ยวกับข้อเรียกร้อง (ไม่ถูกปิด
งาน)ประมาณ ๕๐๐ คน ซึ่งต้องการเลิกงานเวลา ๑๗.๒๐ น. ไม่พอใจกลุ่มลูกจ้างที่ถูกอบรม
เรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานนั้น มีการเจรจากันระหว่างฝ่ายบุคคลกับลูกจ้าง แต่ไม่มีการทำ
บันทึกเป็นหนังสือตกลงกัน จะทดลองปฏิบัติตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๔๙ ถึงสิ้นปี
(๕) เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ นายเอนก อรรถจินดา ผู้แทนผู้ถูกร้องชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการ
สิทธิแรงงาน ในการประชุมร่วมกันที่จังหวัดระยอง โดยยอมรับว่าเป็นธรรมชาติของนายจ้างที่ไม่ประสงค์ให้
ลูกจ้างของตนไปร่วมกับสหภาพแรงงานที่สมาชิกเป็นลูกจ้างของนายจ้างอื่นแม้จะเป็นกิจการเดียวกันรวมทั้ง
ผู้ถูกร้องด้วย แต่ผู้ถูกร้องก็เคารพกฎหมาย
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๕๓
Master 2 anu .indd 253 7/28/08 9:23:05 PM