Page 255 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 255

มั่นคงภายในจังหวัดระยอง แจ้งต่อคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ว่าได้ดำเนินการตรวจสอบกรณีที่ผู้ร้องอ้าง
              ว่ามีบุคคลแต่งชุดคล้ายทหารเข้าไปในสถานประกอบกิจการของผู้ถูกร้องในช่วงเวลาการเจรจาต่อรองระหว่าง
              ผู้ร้องกับผู้ถูกร้องแล้ว พบว่าบุคคลตามภาพถ่ายที่ผู้ร้องให้ตรวจสอบ เป็นกำลังพลของกองทัพเรือ และจะได้
              นำเสนอผู้บังคับบัญชาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป

              ความเห็นของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทุกฝ่ายแล้ว จึงได้วินิจฉัย
              ตามประเด็นการตรวจสอบ ดังนี้

              	     ประเด็นแรก ผู้ถูกร้องได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องเพราะ
              เหตุเป็นสมาชิกของผู้ร้อง  ยื่นข้อเรียกร้อง  และเจรจาต่อรองกับผู้ถูกร้อง  ตามพระราชบัญญัติ
              แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือไม่ อย่างไร

                    จากการตรวจสอบ พบว่า นับแต่ผู้ถูกร้องทราบว่าลูกจ้างไปเป็นสมาชิกของผู้ร้อง ผู้ถูกร้องก็แสดง
              เจตนาชัดเจนว่าไม่ประสงค์ให้ไปเป็นสมาชิกของผู้ร้องดังที่นายเอนก อรรถจินดา ผู้แทนผู้ถูกร้องชี้แจงต่อ
              คณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ แต่ต้องการให้จัดตั้งภายในสถานประกอบการ
                    ส่วนผู้ร้องและสมาชิกของผู้ร้อง ได้ชี้แจงยืนยันต่อคณะอนุกรรมการว่า ฝ่ายบริหารของผู้ถูกร้องพูดจา
              เกลี้ยกล่อมให้ลูกจ้างเลิกยุ่งเกี่ยวกับผู้ร้อง และไม่ประสงค์ให้ลูกจ้างของตนไปเป็นสมาชิกของผู้ร้อง ซึ่งเป็น
              สหภาพแรงงานประเภทอุตสาหกรรม โดยแจ้งว่าหากจัดตั้งสหภาพแรงงานนายจ้างประเภทเดียวกัน ผู้ถูกร้อง
              จะปรับปรุงสภาพการจ้างให้ดีขึ้น
              	     นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารของผู้ถูกร้องได้แจ้งให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องลาออกจากสมาชิก หากไม่
              ลาออกจะถูกประเมินผลการทำงานตามความพอใจ และมีไปรษณียบัตรส่งไปที่บ้านของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของ
              ผู้ร้อง เพื่อขอให้กลับเข้าทำงาน โดยจะปรับระดับ(เกรด)การทำงานให้ปรากฏตามไปรษณียบัตรที่ ผู้ร้องนำส่ง
                    ในระหว่างที่ฝ่ายบริหารของผู้ถูกร้องนัดตัวแทนในการเจรจาข้อเรียกร้องของผู้ร้องรับประทานอาหาร
              ร่วมกัน ฝ่ายบริหารของผู้ร้องได้พูดจาโน้มน้าวลูกจ้างให้แยกตัวออกมาจากสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า
              ประเทศไทย  และหากตั้งสหภาพแรงงานประเภทลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน  ผู้ถูกร้องจะปรับปรุง
              สวัสดิการต่างๆ ให้
                    คณะอนุกรรมการได้พิจารณาประกาศของผู้ถูกร้องหลายฉบับ เช่น ประกาศ ที่ HRM. ๗๓/๒๕๔๙
              ระบุข้อความที่อ่านแล้วเข้าใจได้ว่า จากการยื่นข้อเรียกร้องของผู้ร้อง ทำให้ผู้ถูกร้องประสบปัญหาหลายด้าน
              เช่น ไม่สามารถส่งงานให้ลูกค้าได้ทัน ปริมาณและคุณภาพของงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ มีการทำให้
              ทรัพย์สินและผลิตภัณฑ์ของผู้ถูกร้องเสียหาย ทำให้เกิดการแตกแยกในหมู่ลูกจ้าง และผู้บังคับบัญชา และ
              บรรยากาศ  แรงงานสัมพันธ์ไม่สร้างสรรค์  และประกาศดังกล่าวยังระบุข้อความที่ไม่ส่งเสริมระบบ
              แรงงานสัมพันธ์ เช่น “บริษัท ฯ ขอชี้แจงให้พนักงานที่มีเจตนาดีต่อบริษัท ฯ ได้เข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
              และขอให้มีความอดทนต่อแรงเสียดสีทุกทางจากบุคคลที่มีความประสงค์แอบแฝง” เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการ
              กล่าวหาลูกจ้างและบุคคลที่ได้รับรู้ข้อความในประกาศเข้าใจผิดว่า ฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็นฝ่ายที่มีเจตนาไม่
              ดีต่อผู้ถูกร้อง เป็นบุคคลที่มีความประสงค์แอบแฝง และเป็นฝ่ายที่ทำให้ผู้ถูกร้องเสียหาย จึงเป็นประกาศที่มี
              ลักษณะกล่าวร้ายให้ฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องเสียหาย  ก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างลูกจ้างด้วยกันเอง  ไม่
              เหมาะสมกับช่วงเวลาที่มีการเจรจาต่อรองข้อเรียกร้อง ทำให้บรรยากาศแรงงานสัมพันธ์ และการคลี่คลายหา
              ข้อยุติเพื่อให้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ การจ้าง เพื่อทั้งสองฝ่ายจะได้ร่วมกันทำงานต่อไป เพราะการ
              ยื่นข้อเรียกร้องหรือเจรจาต่อรอง แม้จะมีข้อขัดแย้งหรือล่วงเกินกันบ้าง ก็ควรใช้ท่าทีน้อมรับ เคารพสิทธิของ

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๕๕





     Master 2 anu .indd   255                                                                     7/28/08   9:23:06 PM
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260