Page 254 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 254
ข้อเท็จจริงจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง (นายวรานนท์ ปีติวรรณ)
ในขณะที่ผู้ถูกร้องจะใช้สิทธิปิดงาน ผู้ถูกร้องจะไม่ทราบว่า ลูกจ้างคนใดเป็นสมาชิกของผู้ร้อง จึงต้อง
มีวิธีแยกลูกจ้างที่ไม่เป็นสมาชิกของผู้ร้องเพื่อจะได้ใช้สิทธิปิดงานเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับผู้ร้อง ผู้ถูกร้องจึงใช้วิธี
สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานทั้งหมดก่อน และให้ลูกจ้างที่ไม่เป็นสมาชิกผู้ร้องมายื่นสมัครใจเข้าทำงาน แต่สมาชิก
สหภาพแรงงานบางคนจะไม่ใช้สิทธิหยุดงานก็ได้
ในการหยุดงานทั้งหมดหนึ่งวันนั้น มิใช่การปิดงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
ผู้ถูกร้องจึงจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างทุกคนตามกฎหมาย การปิดงานหรือการนัดหยุดงานตามกฎหมาย
แรงงานสัมพันธ์จะเกิดขึ้นได้ ผู้ใช้สิทธิจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบล่วง
หน้าเป็นเวลาอย่างน้อย ๒๔ ชั่วโมง
แต่บริษัทผู้ถูกร้องเกรงว่า หากแจ้งล่วงหน้าอาจทำให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย เนื่องจากอาจมีการ
ทำลายทรัพย์สินบริษัทฯ จึงไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
การอบรมที่ยิ่งเนิ่นนานไป จะทำให้ลูกจ้างที่รับการอบรมเกิดความรู้สึกแปลกแยกกับกลุ่มลูกจ้าง
ที่ทำงานตามปกติ จึงพยายามประสานงานกับฝ่ายบริหารของผู้ถูกร้อง เพื่อให้ยุติการอบรมดังกล่าวแต่
ไม่เป็นผล เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ที่จะสั่งการให้บริษัทฯ ผู้ถูกร้องรับลูกจ้างเข้าทำงานตามปกติ
สภาพการณ์ด้านแรงงานสัมพันธ์ในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดระยองนั้น เมื่อลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้อง บริษัทฯ
จะไม่ให้ลูกจ้างดังกล่าวทำงานล่วงเวลา ฝ่ายลูกจ้างก็มักจะทำลายทรัพย์สินของนายจ้าง
นายจ้างจึงเห็นว่า หากให้ลูกจ้างที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อบริษัทฯ กลับเข้าทำงาน อาจเกิดความเสี่ยงและ
เกิดความเสียหายกับบริษัทฯ ได้ แต่หากจะให้ทำงานในจุดที่มีความเสี่ยงน้อยก็ไม่มีใครให้หลักประกันได้
ข้อเท็จจริงจากบริษัท เอ็น เอ คิว เอส จำกัด (บริษัทจัดการอบรม)
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ได้เชิญบริษัทที่รับจัดการอบรมให้ผู้ถูกร้องมาร่วมประชุมเพื่อพิจารณา
หาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่เนื่องจากผู้แทนบริษัทดังกล่าวติดภารกิจ ไม่อาจร่วมประชุมได้แต่ได้ส่งหนังสือ
ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อคณะอนุกรรมการ สรุปได้ว่า บริษัทฯไม่ทราบข้อขัดแย้ง
ระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้อง บริษัท ฯ ได้ตกลงรับทำงานให้ผู้ถูกร้องแล้วหากผิดสัญญาอาจถูกฟ้อง ให้ชดใช้
ค่าเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาการอบรม ไม่ปรากฏหลักสูตรการละลายพฤติกรรมของลูกจ้าง
โดยภาพรวมเป็นหลักสูตรการพัฒนาองค์กร และมีกำหนดเวลาการเข้าอบรมไว้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ บริษัท เอ็น เอ คิว เอส ทราบและเข้าใจเจตนาของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าว และยินดีที่จะให้ความร่วมมือรับฟังตามมติที่ประชุมอันยุติแล้ว
ข้อเท็จจริงจากอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
นายโสภณ ชุ่มชูจันทร์ นายอำเภอปลวกแดงติดภารกิจ ไม่อาจเข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการฯ
ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดระยอง ในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และมอบหมายให้ปลัดอำเภอมาชี้แจง
แทน คำชี้แจงสรุปได้ว่า นายอำเภอปลวกแดงเป็นผู้อนุมัติให้ผู้ถูกร้องใช้ห้องประชุมของอำเภอเป็นที่อบรม
สมาชิกของผู้ร้อง ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จนถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ส่วนวันใดที่มีการใช้
ห้องประชุม ผู้ถูกร้องก็ไม่สามารถจัดอบรมได้
ข้อเท็จจริงจากผู้แทนมณฑลทหารบกที่ ๑๔ และผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
จังหวัดระยอง
ในระหว่างการตรวจสอบเรื่องนี้ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด
ระยอง นาวาเอกณัฐพล ศรีสมบูรณ์ หัวหน้าส่วนติดตามสถานการณ์ความมั่นคง กองอำนวยการรักษาความ
๒๕๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 254 7/28/08 9:23:06 PM