Page 258 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 258

แรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๓๑
                    ส่วนประเด็นการไม่จ่ายเงินจำนวน ๒,๐๐๐ บาท นั้น คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานเห็นว่าตามข้อ
              ตกลงฉบับลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ ระบุชัดเจนว่า บริษัท ฯ ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือจำนวน ๒,๐๐๐
              บาท ให้แก่ลูกจ้างช่วงที่ยังไม่ได้เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ ๒๒ ถึง ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ กำหนดจ่ายเงินในวันที่
              ๒๒ มกราคม ๒๕๕๐ ตามเวลาราชการ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง ตามข้อ
              ตกลงข้อ ๓.๒ หากไม่รับเงินในวันและสถานที่ดังกล่าว ให้ลูกจ้างรับเงินได้ในวันที่ลูกจ้างรายงานตัว
                    เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีเพียงลูกจ้างจำนวน ๑๐ คน ที่ถูกเลิกจ้าง เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
              ยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว แต่ก็ไม่มีเหตุอันใดที่ผู้ถูกร้องจะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้าง การกระทำของผู้ถูกร้อง
              จึงเป็นการทำผิดข้อตกลง และต้องชำระเงินให้แก่ลูกจ้างทั้ง ๑๐ คน คนละ ๒,๐๐๐ บาท

              	     ประเด็นที่สี่ ผู้ถูกร้องได้นำบุคคลแต่งกายคล้ายทหารจำนวน ๔ คน เข้ามาในสถานประกอบ
              การของผู้ถูกร้องในระหว่างมีการเจรจาข้อเรียกร้องหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างผู้ร้องกับ
              ผู้ถูกร้องหรือไม่

                    ในระหว่างการตรวจสอบ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดระยอง
              คณะอนุกรรมการฯ ขอให้นายเอนก อรรถจินดา ผู้จัดการส่วนบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้ถูกร้องดูภาพถ่าย
              บุคคลที่แต่งกายคล้ายทหารจำนวน ๔ คน ตามที่ผู้ร้องถ่ายไว้และบันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ นายอเนกดู
              ภาพถ่ายแล้วยอมรับว่า บุคคลในภาพถ่ายเป็นบุคคลที่ผู้ถูกร้องขอให้บริษัท เจ เจ ฟอร์ด ฯ ซึ่งเป็นบริษัท
              รักษาความปลอดภัยของผู้ถูกร้องจัดส่งมาที่บริษัทผู้ถูกร้อง เพื่อดูแลความปลอดภัย และตนเป็นผู้ขับขี่รถพา
              บุคคลทั้ง ๔ ตระเวนรอบ ๆ บริษัทผู้ถูกร้องจริง แต่ไม่รู้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นทหารหรือไม่ บุคคลทั้ง ๔ อยู่ที่
              บริษัทผู้ถูกร้องเพียงวันเดียว มีการรายงานการทำงานด้วยวาจาต่อตน และตนไม่ทราบชื่อบุคคลทั้ง ๔
                    ส่วนผู้ร้องยืนยันว่า  ในระหว่างมีการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้องในสถานประกอบ
              กิจการของผู้ถูกร้องนั้น เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ มีบุคคลจำนวน ๔ คน แต่งกายคล้ายทหารเข้ามา
              ในสถานประกอบกิจการของผู้ถูกร้อง ผู้ร้องจึงถ่ายภาพไว้ นายอเนก ให้การต้อนรับบุคคลทั้ง ๔ เป็นอย่างดี
              จัดให้บุคคลทั้ง ๔ พักอาศัยในสถานประกอบกิจการของผู้ถูกร้องเป็นเวลาหลายวัน
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้พิจารณาภาพถ่ายดังกล่าวแล้ว เห็นว่า ชุดที่บุคคลในภาพสวมใส่น่า
              จะเป็นเครื่องแบบทหาร เพราะมีเครื่องหมายชั้นยศ และหน่วยสังกัดชัดเจน จึงขอให้สัสดีจังหวัดระยอง/
              ประจำส่วนความมั่นคงกองอำนวยการรักษาความปลอดภัยจังหวัดระยอง  ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลให้
              ชัดเจน  และแจ้งให้คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานทราบโดยด่วน  ซึ่งผลการตรวจสอบเบื้องต้นปรากฏว่า
              บุคคลในภาพถ่าย ดังกล่าวเป็นข้าราชการทหารสังกัดกองทัพเรือ
                    การที่นายอเนก อ้างว่าไม่รู้ว่าบุคคลทั้ง ๔ เป็นทหารหรือไม่ จึงเป็นคำกล่าวอ้างที่ขาดเหตุผลและไม่
              น่าเชื่อถือ  ผู้ถูกร้องนำทหารเข้ามาในระหว่างที่มีการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้องถือได้ว่า
              เป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อกดดันหรือทำให้เกิดการหวั่นวิตกในการใช้สิทธิในการเจรจาต่อรองของผู้ร้อง
              และสมาชิกของผู้ร้องที่เป็นลูกจ้างของผู้ถูกร้อง อันเนื่องมาจากผู้ถูกร้องไม่ยอมรับการที่ลูกจ้างของผู้ถูกร้องไป
              เป็นสมาชิกของผู้ถูกร้อง

              	     การกระทำของผู้ถูกร้องจึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้องและไม่เป็นการส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี
              หลักกฎหมายและกติการะหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
                    (๑) ผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันหรือเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานใน
              กิจการประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะมีนายจ้างกี่คน บรรลุนิติภาวะและมีสัญชาติไทย (มาตรา ๘๘)

        ๒๕๘  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   258                                                                     7/28/08   9:23:07 PM
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263