Page 261 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 261

ด้านแรงงานสัมพันธ์ในการเจรจาต่อรองเพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในระดับที่เป็นไปได้แล้วค่อย
              พัฒนาในโอกาสต่อไปเพื่อรักษาองค์กรไว้ก่อน ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับบริหารด้านแรงงานในระดับจังหวัดก็มี
              เจตคติต่อสหภาพแรงงานในทางลบ จึงขาดแรงจูงใจและการคิดค้นมาตรการในการแก้ไขปัญหา จนกระทั่ง
              นำมา ซึ่งความร้าวฉาน และความเสียหายต่อระบบแรงงานสัมพันธ์ และการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์
                    (๔)  จังหวัดระยอง  เป็นจังหวัดเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ  มีปัญหาข้อขัดแย้งด้าน
              แรงงานสัมพันธ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ยังไม่มีกลไกในการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพและทันเหตุการณ์
              เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานยังคงชี้แจงว่า  ตนไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้าง
              ทำงานได้เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ หน่วยงานของรัฐยังไม่มีการบูรณาการ ไม่มีการประสานความ
              ร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน กลุ่มสหภาพแรงงานในเขตพื้นที่ตลอดจนองค์กรชุมชน หรือ
              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการเรียนรู้และสร้างสมประสบการณ์ในการพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ต่อไป

              มาตรการในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๐ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม
              ๒๕๕๐ เห็นชอบด้วยความเห็นของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน และพิจารณาเห็นว่า ตามคำร้องนี้เป็น
              กรณีการละเมิดต่อการใช้เสรีภาพของลูกจ้างในการเจรจาต่อรอง  ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำซากในสังคมไทย  คณะ
              กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงมีข้อเสนอมาตรการในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้

              มาตรการในการแก้ไขปัญหา
                    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
                    (๑)  ดำเนินการให้ผู้ถูกร้องตระหนักและเข้าใจหลักการของสหภาพแรงงานประเภทกิจการเดียวกัน
              และเร่งรัดแก้ไขปัญหาแรงงานสัมพันธ์ ระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้องที่เกิดความร้าวฉานให้กลับคืนสภาพปกติโดย
              เฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ถูกอบรมทั้งหมด ได้กลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิม ณ สถาน
              ประกอบการเดิม
                    ทั้งนี้ ให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน และรายงานให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทราบ
                    (๒) ให้ปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้เป็นเครื่อง
              มือทางด้านแรงงานสัมพันธ์ที่มีบทบาททั้งในเชิงป้องกัน แก้ไขเยียวยา และส่งเสริมพัฒนา และสามารถ
              แก้ไขปัญหาเชิงรุกหรือทันต่อสถานการณ์ได้ โดยการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นจากองค์กรปกครอง
              ส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์เอกชน กลุ่มสหภาพแรงงานในเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ
              และสถาบันทางวิชาการ มีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย
               ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
                    (๓) ให้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านแรงงานสัมพันธ์ โดยการนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วตามข้อ
              (๑) ไปปฏิบัติในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ ทั้งในส่วนสถาน
              ประกอบกิจการที่ลูกจ้างเพิ่งมีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และในส่วนที่ยังเป็นปัญหาหรือมีแนวโน้มว่าจะเกิด
              ปัญหาข้อขัดแย้งในขอบเขตทั่วประเทศ
                    ทั้งนี้ ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดแผนปฏิบัติการประจำปี ในทุกๆ ปี
                    (๔) ให้ใช้กรณีตามคำร้องนี้หรือกรณีอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นกรณีศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยน
              เจตคติในทางลบของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อสหภาพแรงงาน และเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ
              ให้สามารถจัดการความขัดแย้งทางด้านแรงงานสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ




                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๖๑





     Master 2 anu .indd   261                                                                     7/28/08   9:23:08 PM
   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266