Page 259 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 259

(๒)  สมาคมนายจ้าง  หรือสหภาพแรงงานมีสิทธิยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งแทนนายจ้างหรือ
              ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกได้ จำนวนสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า หนึ่งในห้าของลูกจ้างทั้งหมด
                    กรณีสหภาพแรงงานเป็นผู้ยื่นข้อเรียกร้อง ไม่ต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับ
              ข้อเรียกร้อง (มาตรา ๑๕)
                    (๓) ในกรณีที่ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ผ่านการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาท
              แรงงานแล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้และไม่มีการตั้งผู้ชี้ขาด กฎหมายถือว่าข้อพิพาทแรงงานดังกล่าวเป็น
              ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ นายจ้างมีสิทธิปิดงาน ส่วนลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานมีสิทธินัดหยุดงาน
              โดยต้องแจ้งล่วงหน้าให้ถูกต้องตามกฎหมาย (มาตรา ๒๒)
                    (๔) ในระหว่างยื่นข้อเรียกร้อง เจรจาต่อรอง หรือระหว่างชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ห้าม
              นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเรียกร้อง หรือสหภาพแรงงาน
              เว้นแต่กรณีลูกจ้างกระทำความผิดในกรณีร้ายแรงตามที่กฎหมายกำหนด (มาตรา ๓๑)
                    ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้
              เนื่องจากการยื่นข้อเรียกร้องหรือเจรจาต่อรอง หรือเพราะเหตุเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
                    ห้ามนายจ้างหรือบุคคลใดเข้าแทรกแซงการดำเนินงานของสหภาพแรงงานโดยไม่มีอำนาจโดยชอบ
              ด้วยกฎหมาย และห้ามมิให้นายจ้างให้หรือตกลงจะให้เงินหรือทรัพย์สินแก่ลูกจ้างเพื่อให้สมัครหรือให้ออก
              จากสมาชิกสหภาพแรงงาน (มาตรา ๑๒๑)
                    ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับขู่เข็ญ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมให้ลูกจ้างต้องเป็นสมาชิกหรือต้องออกจากการ
              เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน (มาตรา ๑๒๒)
                    (๕) ในระหว่างคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่
              ลูกจ้างกระทำผิดในกรณีร้ายแรงตามที่กฎหมายกำหนด (มาตรา ๑๒๓)
                      ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
              
     
 
 (๑) หลักเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การ
              เอกชน หรือหมู่คณะอื่น
                        (๒) หลักเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
                      ๓. กติการะหว่างประเทศ
              
     
 
 (๑) กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่ง
              ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒
                    ข้อ ๘ (ค) สิทธิของสหภาพแรงงานที่จะดำเนินงานอย่างเสรีโดยไม่ขึ้นอยู่กับการจำกัดใด นอกจากที่ได้
              กำหนดโดยกฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือประโยชน์ส่วนรวม
                        (ง) สิทธิที่จะนัดหยุดงาน หากใช้สิทธิโดยสอดคล้องกับกฎหมายในประเทศ
                        (๒) กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๙ ประเทศ
              ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
                      ข้อ ๒๑ สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำกัดการใช้สิทธิจะกระทำมิได้ยกเว้น
              มีกฎหมายรับรองและเพียงเท่าที่จำเป็นในสังคมประชาธิปไตยหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
                      ข้อ ๒๒
                    ๑. บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม รวมทั้งสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วม
              สหภาพแรงงานเพื่อปกป้องประโยชน์ตน
              		    ๒.  การจำกัดการใช้สิทธินี้กระทำมิได้  เว้นแต่โดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับสังคม
              ประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติหรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข
              หรือศีลธรรมของประชาชนหรือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๕๙





     Master 2 anu .indd   259                                                                     7/28/08   9:23:08 PM
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264