Page 251 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 251

๒ ถึง ๗ เมษายน ๒๕๕๐ ปรากฏว่ามีใบปลิวในรถรับ-ส่งลูกจ้างที่เข้ารับการอบรม ข้อความในใบปลิวเป็น
              เรื่องเกี่ยวกับ กรณีผู้ถูกร้องอ้างว่าลูกจ้างบางส่วนประสงค์จะลาออกเพื่อประกอบอาชีพส่วนตัว แต่ยังขาดทุน
              ทรัพย์ ผู้ถูกร้องจึงจัดโครงการลาออกโดยจ่ายเงินช่วยเหลือให้ รายละเอียดปรากฏตามเอกสาร ที่ผู้ร้องนำส่ง
                    ช่วงที่ ๖ เดือนเมษายน ๒๕๕๐ ก็มีแผนการอบรมเรื่อยมา ยกเว้นวันที่ ๒ ถึง ๗ เมษายน ให้หยุดพัก
              การอบรมโดยไม่แจ้งเหตุผล วันที่ ๘ ถึง ๑๕ เมษายน เป็นวันหยุดสงกรานต์ของผู้ถูกร้อง และวันที่ ๑๖ และ
              ๑๗ เมษายน ผู้ถูกร้องให้ลูกจ้างที่จะรับการอบรมลงชื่อแล้วให้กลับบ้านได้ และมีการอบรมตั้งแต่วันที่ ๑๘
              เมษายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
                    ช่วงที่ ๗ ตั้งแต่วันที่ ๒ ถึง ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
              	     ผู้รับจัดการฝึกอบรมให้แก่ผู้ถูกร้องคือ บริษัท เอ็น เอ คิว เอส จำกัด แผนการอบรม มีหัวข้อและ
              วิทยากร ดังนี้
                    นายอำเภอปลวกแดงบรรยายหัวข้อ ชีวิตจริงกับแรงงาน
                    เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมบรรยายเรื่อง การประกันสังคม
                    ส่วนหัวข้อ จริยธรรมการอยู่ร่วมกัน การกระทำอันไม่เป็นธรรม การเป็นผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็น
              ทีม การสร้างจิตสำนึกต่อองค์กร แนวความคิดและการดำเนินชีวิตประจำวัน การดำรงชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอ
              เพียง การพัฒนาตนเองตามแนว ๕ ส. การบริหารเวลาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มศักยภาพ
              ด้วยการตระหนักด้านคุณภาพ เทคนิคการสื่อข้อความที่มีประสิทธิภาพ เทคนิคการแก้ไขและป้องกันปัญหา
              ที่เกิดจากการทำงาน  การบริหารงานประจำวัน  การบริหารความขัดแย้งในการทำงาน  การสร้าง
              มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร TSCIC อันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน จิตสำนึกด้าน
              สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น อบรมโดยวิทยากรที่บริษัทฯ รับจัดอบรมเป็นผู้จัดหา
              รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ ผู้ร้อง และบริษัท เอ็น เอ คิว เอส จำกัด นำส่ง
              	     (๖) วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ผู้ถูกร้องมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้อง จำนวน ๑๐ คน
              อ้างเหตุว่าลูกจ้างทั้ง ๑๐ คน ได้ทำหนังสือสมัครใจเข้าทำงาน และยอมรับสภาพการจ้างของผู้ถูกร้องแต่
              ไม่ยอมเข้าทำงานโดยไม่แจ้งให้ผู้ถูกร้องทราบ ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ ผละงานและหยุดงานโดยไม่ชอบด้วย
              กฎหมาย ทำให้ผู้ถูกร้องได้รับความเสียหาย โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือเงินใดๆ จากการเลิกจ้าง รวมทั้งไม่จ่ายเงิน
              ช่วยเหลือจำนวนคนละ ๒,๐๐๐ บาท ในระหว่างปิดงานตามข้อตกลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ ด้วย
                    ลูกจ้างทั้ง ๑๐ คน ลงชื่อในหนังสือสมัครใจเข้าทำงานโดยเข้าใจผิด เพราะผู้บังคับบัญชาขอร้องให้
              ลงชื่อ  และแจ้งว่าไม่มีผลผูกพันใด  ๆ  เมื่อเข้าใจความจริงจากผู้ร้องแล้วจึงได้แจ้งยกเลิกการสมัครใจเข้า
              ทำงานด้วยวาจากับผู้จัดการส่วนและผู้จัดการแผนกทันที ต่อมาบางคนก็ได้ทำหนังสือยกเลิกการสมัครใจเข้า
              ทำงาน  มอบให้ผู้ร้องไว้  นอกจากนี้  ผู้ร้องได้นำปัญหาดังกล่าวไปปรึกษาเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานใน
              ระหว่างที่ผู้ร้องมาชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมที่กระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ทั้งได้
              สอบถามต่อเจ้าหน้าที่ชื่อ นายอิทธิพล แผ่นเงิน ว่า จะต้องแจ้งยกเลิกต่อผู้ถูกร้องหรือไม่ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า
              ไม่จำเป็น เนื่องจากสหภาพแรงงานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง การถอนข้อเรียกร้องต้องกระทำโดยสหภาพแรงงาน
              และที่ผู้ถูกร้องให้ลูกจ้างลงชื่อในหนังสือสมัครใจเข้าทำงานโดยมีเจตนาถอนข้อเรียกร้องด้วยนั้นไม่มีผล
              เพราะผู้ถูกร้องในฐานะนายจ้างไม่อาจกระทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากเป็นการขัดต่อกฎหมาย
                    อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องได้ทำหนังสือร้องเรียนเรื่องดังกล่าวต่อหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงแรงงาน
              จังหวัดระยอง  และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เป็นต้น  และได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการ
              แรงงานสัมพันธ์ว่า ผู้ถูกร้องเลิกจ้างลูกจ้างทั้ง ๑๐ คน ซึ่งเป็นสมาชิกของผู้ร้องอันเป็นการกระทำที่ไม่เป็น
              ธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
                    (๗) นับแต่ผู้ร้องได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ถูกร้อง จนกระทั่งถึงช่วงเวลารอคำชี้ขาดของคณะกรรมการ
              แรงงานสัมพันธ์ ฝ่ายบริหารของผู้ถูกร้องได้ดำเนินการต่างๆ นานาให้ลูกจ้างเลิกยุ่งเกี่ยวกับผู้ร้อง ให้ลาออก

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๕๑





     Master 2 anu .indd   251                                                                     7/28/08   9:23:05 PM
   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255   256