Page 252 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 252
จากสมาชิก ให้สละข้อเรียกร้องของผู้ร้อง เช่น เมื่อผู้ร้องได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ถูกร้องแทนสมาชิกที่เป็น
ลูกจ้างของ ผู้ถูกร้องเพียง ๒ วัน นายอรรถวิทย์ ลัดดาพงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายจัดส่ง เป็นผู้ชี้แจงต่อลูกจ้าง
ทั้งหมดก่อนเริ่มทำงานว่า ตามที่มีการยื่นข้อเรียกร้องนั้น ทางผู้ถูกร้องคงให้ไม่ได้ เพราะบริษัทฯ ไม่มีกำไร
และเรียกร้องมากเกินไป นอกจากนี้สมาชิกของผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้างในบังคับบัญชาของนายอรรถวิทย์ ถูกเรียก
ไปพบ และได้รับแจ้งว่า ใครที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องหากไม่ลาออกจากสมาชิกจะถูกประเมินผลการทำงาน
ในระดับต่ำสุด
ในระหว่างเจรจาต่อรองข้อเรียกร้อง ตัวแทนเจรจาข้อเรียกร้องฝ่ายลูกจ้างยืนยันว่า ฝ่ายบริหารของ
ผู้ถูกร้องหลายคน เช่น นายเอนก อรรถจินดา ผู้จัดการส่วนบริหารทรัพยากรมนุษย์ นายสุทิน สุวรรณ-
ประทีป ผู้จัดการส่วนบริหารวัตถุดิบในโรงงาน และนายธรรมนูญ ยิ้มละมัย ผู้จัดการฝ่ายผลิต ๑ โรงงาน ๑
ได้แสดงเจตนาชัดเจนว่า ไม่ประสงค์ให้ลูกจ้างของผู้ถูกร้องที่ ๑ ไปเป็นสมาชิกของผู้ร้อง กล่าวคือ
นายธรรมนูญ ได้สอบถามนายทักษิณ ชื่นชม ตัวแทนเจรจาฝ่ายผู้ร้องว่า “ทำไมไม่ตั้งกันเอง ต้องไปอาศัย
ชาวบ้านเขาทำไม” “เขา” หมายถึง ผู้ร้อง
ฝ่ายบริหารของผู้ถูกร้องนัดตัวแทนในการเจรจาข้อเรียกร้องของผู้ร้องรับประทานอาหาร และพูดจา
โน้มน้าวให้ลูกจ้างของผู้ถูกร้องแยกตัวออกมาจากสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย และหาก
ตั้งสหภาพแรงงานประเภทนายจ้าง ผู้ถูกร้องยินดีให้ความร่วมมือ และจะปรับปรุงสวัสดิการต่างๆ ให้
ในระหว่างที่มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง
นายธรรมนูญ และนายอเนก กล่าวเปรียบเปรยลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องว่า “หากอยากได้รถมอเตอร์ไซด์
ให้กลับบ้าน” หมายความว่า หากลูกจ้างอยากได้สภาพการจ้างหรือสวัสดิการที่ดีไม่ควรไปสมาคมกับผู้ร้อง
นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า ผู้จัดการหน่วยงานของผู้ถูกร้องได้โทรศัพท์คุยกับลูกจ้างที่ถูกปิดงานและอยู่
ในบังคับบัญชาของตน ให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับผู้ร้อง และมีไปรษณียบัตรส่งไปที่บ้านของสมาชิกผู้ร้องให้กลับเข้า
ทำงาน โดยจะปรับระดับ(เกรด)การทำงานให้
(๘) นายโสภณ ชุ่มชูจันทร์ นายอำเภอปลวกแดง มีส่วนรู้เห็นและสนับสนุนให้ผู้ถูกร้องจัดอบรม
สมาชิกของผู้ร้องในลักษณะที่เป็นการกดดันหรือกลั่นแกล้งลูกจ้าง เนื่องจากนายอำเภอเป็นวิทยากรด้วย นาย
อำเภอทราบข้อขัดแย้งระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้องมาตั้งแต่วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๐ ได้แต่ขอร้องมิให้ผู้ร้องเดิน
ขบวนหรือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อหน่วยงานต่าง ๆ แต่มิได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเลย
(๙) จากกรณีที่ผู้ร้องถูกละเมิดสิทธิสหภาพแรงงานและถูกกระทำโดยไม่เป็นธรรมนั้น ผู้ร้องได้ร้องเรียน
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
นายอำเภอปลวกแดง
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ศูนย์อเมริกันเพื่อแรงงานนานาชาติ และสหพันธ์แรงงานยานยนต์ แห่งประเทศไทย
ข้อเท็จจริงฝ่ายผู้ถูกร้อง
(๑) ผู้ถูกร้องประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับบริษัทรถยนต์หลายราย เช่น
บริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย)จำกัด บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด เป็นต้น
สถานประกอบการตั้งอยู่เลขที่ ๖๔/๔๖ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง
๒๕๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 252 7/28/08 9:23:05 PM