Page 260 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 260
มติของคณะอนุกรรมการ
การกระทำของผู้ถูกร้อง เป็นการขัดขวางและละเมิดต่อการใช้เสรีภาพของลูกจ้างในรวมตัวและเจรจา
ต่อรอง เป็นการเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ทำผิดข้อตกลง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๓๑ , ๑๒๑ และมาตรา ๑๒๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๑๙ และกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
พ.ศ. ๒๕๒๙ และเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเคย
บัญญัติรับรองไว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
ข้อสังเกต
คณะอนุกรรมการเห็นว่า ตามคำร้องนี้ มีการละเมิดสิทธิสหภาพแรงงานที่ซับซ้อน และคาบเกี่ยวใน
หลายมิติ จึงมีข้อสังเกตดังนี้
(๑) แม้ว่า พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ รับรองสิทธิของลูกจ้างในการจัดตั้งหรือเข้า
ร่วมกับสหภาพแรงงานประเภทกิจการหรืออุตสาหกรรมเดียวกัน แต่เมื่อนายจ้างยังขาดความเข้าใจหรือไม่
อาจยอมรับการจัดตั้งดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาในเรื่องเจตคติ จึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางด้าน
แรงงานสัมพันธ์ที่รุนแรงและขยายตัว เกิดการบาดหมางและแบ่งแยกระหว่างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้อง
กับลูกจ้างที่ไม่เป็นสมาชิก และส่งผลเสียหายต่อการผลิตและความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้าง
อย่างไรก็ตาม กรณีตามคำร้องนี้ ผู้ร้องได้ร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานเพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาและ
สร้างความเป็นธรรมด้วย แต่กระทรวงแรงงานก็ยังขาดมาตรการทางด้านแรงงานสัมพันธ์เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย
สามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ เห็นได้ว่ากระทรวงแรงงานยังไม่สามารถนำแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการ
แรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นการเห็นชอบร่วมกันขององค์กรไตรภาคี และเป็นเครื่อง
มือที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาแรงงานสัมพันธ์ มาปฏิบัติเพื่อป้องกัน หรือแก้ไขหรือฟื้นฟูแรงงานสัมพันธ์ได้
(๒) หลังจากข้อพิพาทแรงงานยุติลง มีหลายกรณีที่ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือ
สหภาพแรงงานยังคงเป็นปัญหาต่อไป และนายจ้างมักเป็นฝ่ายที่ยอมรับไม่ได้กับการกระทำของสหภาพ
แรงงานหรือลูกจ้างในระหว่างเจรจาต่อรอง แม้ว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตามกฎหมายก็ตามวิธี
การที่นายจ้างมักปฏิบัติก็คือ ไม่ยอมให้ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องกลับเข้าทำงาน และให้ลูกจ้างเข้ารับ
การอบรมโดยไม่มีเวลาสิ้นสุดแต่จ่ายค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ ให้ แม้แต่นายวรานนท์ ปีติวรรณ สวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองก็แสดงความเห็นต่อคณะอนุกรรมการว่า เป็นการอบรมที่ไม่เหมาะสม การ
อบรมที่ยิ่งเนิ่นนานไปจะทำให้ลูกจ้างที่รับการอบรมเกิดความรู้สึกแปลกแยกกับกลุ่มลูกจ้างที่ทำงานตามปกติ
จึงพยายามประสานงานกับฝ่ายบริหารของผู้ถูกร้องเพื่อให้ยุติการอบรมดังกล่าว แต่ไม่เป็นผล
กรณีทำนองนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เคยแก้ไขปัญหาตามที่คณะอนุกรรมการสิทธิ
แรงงานแจ้งให้แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามหนังสือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ รง
๐๕๐๙/๐๐๖๘๔๕ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ โดยระบุว่าการอบรมดังกล่าวอาจเป็นการกระทำที่ไม่เป็น
ธรรมต่อลูกจ้าง และไม่เป็นการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบกิจการ และขอให้ยุติการกระทำ
ซึ่งนายจ้างรายนั้นได้ยุติการอบรม แต่กรณีตามคำร้องนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมิได้ดำเนินการ
แก้ไขปัญหาการอบรมในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด แม้ผู้ร้องได้ร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานแล้วก็ตาม
(๓) จากการตรวจสอบ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานพบความขัดแย้งด้านแรงงานสัมพันธ์ที่สำคัญทั้ง
สามฝ่าย กล่าวคือ นายจ้างมีเจตคติไม่ยอมรับการจัดตั้งสหภาพแรงงานประเภทกิจการ โดยคิดว่าเป็นระบบ
แรงงานสัมพันธ์ที่นำบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหาในสถานประกอบกิจการของนายจ้างซึ่งเป็น
เรื่องภายในครอบครัว จึงพยายามดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกจ้างเลิกล้มกิจกรรมดังกล่าว ในขณะที่ฝ่าย
สหภาพแรงงานไม่เชื่อถือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน โดยเฉพาะในระดับจังหวัด และยังขาดยุทธวิธีทาง
๒๖๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 260 7/28/08 9:23:08 PM