Page 250 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 250
สวัสดิการต่าง ๆ ชั่วคราวในระหว่างมีข้อพิพาทแรงงาน
ต่อมาวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ ผู้ถูกร้องได้ออกประกาศยื่นคำขาดให้ผู้ร้องออกจากพื้นที่ และ
รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากพื้นที่ของผู้ถูกร้อง มิฉะนั้นจะดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม
(๔) ในระหว่างยื่นข้อเรียกร้อง เจรจาต่อรอง และรอการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการ
แรงงานสัมพันธ์นั้น ลูกจ้างของผู้ถูกร้องที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องถูกกลั่นแกล้ง ขัดขวางหรือละเมิดสิทธิของ
สมาชิกสหภาพแรงงาน หลายประการ ดังนี้
๔.๑ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ ในระหว่างขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน ผู้ถูกร้อง
ได้ออกประกาศ ที่ HRM. ๗๓/๒๕๔๙ เรื่องข้อพิพาทแรงงานที่ยังตกลงกันไม่ได้ ซึ่งมีข้อความว่า จากการ
ยื่นข้อเรียกร้องทำให้ผู้ถูกร้องประสบปัญหาหลายด้าน เช่น ไม่สามารถส่งงานลูกค้าได้ทัน ปริมาณและ
คุณภาพของงานไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ มีการกระทำให้ทรัพย์สินและผลิตภัณฑ์ของผู้ถูกร้องเสียหาย
ทำให้เกิดการแตกแยกในหมู่ลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา รวมถึงบรรยากาศแรงงานสัมพันธ์ไม่สร้างสรรค์
นอกจากนี้ ประกาศได้ระบุอีกว่า “บริษัทฯ ขอชี้แจงให้พนักงานที่มีเจตนาดีต่อบริษัทฯ ได้เข้าใจ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และขอให้มีความอดทนต่อแรงเสียดสีทุกทางจากบุคคลที่มีความประสงค์แอบแฝง”
๔.๒ ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง ผู้ถูกร้องได้ออกประกาศที่ HRM.๖๙/๒๕๔๙ เรื่องการ
ปรับปรุงสภาพการจ้าง อ้างว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะปรับปรุงสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างในเรื่อง (๑) เงิน
โบนัส แต่เฉพาะปี ๒๕๔๙ เท่านั้น (๒) การปรับอัตราค่าจ้างเฉพาะปี ๒๕๕๐ (๓) ปรับอัตราค่าล่วงเวลา
สำหรับลูกจ้างรายเดือนจาก ๑.๕ เท่าเป็น ๒ เท่า (๔) ปรับปรุงรถรับส่งลูกจ้าง (๕) ค่ารักษาพยาบาล
คนละ ๕,๐๐๐ บาทต่อปี และขยายผลถึงบิดา มารดา สามี ภรรยาและบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ และ (๖) ปรับปรุงและเพิ่มเติมห้องน้ำ ตู้น้ำดื่ม น้ำร้อนและน้ำเย็น
ให้เพียงพอกับลูกจ้าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐
(๕) เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ ผู้ร้องกับผู้ถูกร้องสามารถตกลงกันได้โดยการไกล่เกลี่ยของ
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน มีสาระสำคัญดังนี้
๕.๑ ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ตามมาตรา ๒๖ แห่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
๕.๒ ให้ลูกจ้างที่ถูกผู้ถูกร้องสั่งปิดงานกลับเข้าทำงานได้ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ โดย
สามารถรายงานตัวเข้าทำงานได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ถึง ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
๕.๓ เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่ได้เข้าทำงานระหว่างวันที่ ๒๒ ถึง ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐
รวม ๑๐ วัน ผู้ถูกร้องจะจ่ายเงินให้ จำนวน ๒,๐๐๐ บาทต่อคน
(๖) วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ผู้ถูกร้องไม่อนุญาตให้ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องหรือที่เป็น
สมาชิกของผู้ร้อง จำนวน ๒๖๐ คน เข้าทำงาน แต่จัดให้เข้ารับการอบรมตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ซึ่ง ผู้ถูกร้องได้ประกาศแผนการอบรมเป็นช่วง ๆ ดังนี้
ช่วงที่ ๑ วันที่ ๑ ถึง ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ช่วงที่ ๒ ครั้นถึงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ผู้ถูกร้องได้ประกาศแผนการอบรมต่อไปจนถึงวันที่ ๒๓
กุมภาพันธ์ และระบุว่าหลังจากวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ แผนอบรมจะต้องมีการพิจารณาในลำดับต่อไป
ช่วงที่ ๓ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ได้ประกาศตารางอบรมต่อไปอีกจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
โดยระบุว่าหลังวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ แผนการอบรมจะมีการพิจารณาในลำดับต่อไป
ช่วงที่ ๔ ตั้งแต่วันที่ ๒ ถึง ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๐ หลังจากวันที่ ๑๖ มีนาคม แผนอบรมจะมีการ
พิจารณาในลำดับต่อไป
ช่วงที่ ๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๐ หลังจากวันที่ ๓๐ มีนาคม แผนอบรมจะมีการ
พิจารณาในลำดับต่อไป ช่วงปลายเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ ผู้ถูกร้องได้ประกาศแจ้งหยุดการอบรมระหว่างวันที่
๒๕๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 250 7/28/08 9:23:04 PM