Page 248 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 248

กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ นอกจากทำผิดข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ผู้ถูกร้องยังดำเนินการให้ลูกจ้างดังกล่าวเข้ารับการ
              อบรมตามที่ผู้ถูกร้องจัดให้ โดยมีเจตนากลั่นแกล้งหรือกดดันสมาชิกของผู้ร้องให้ไม่อาจทนทำงานต่อไปได้

              ความต้องการของผู้ร้อง
                    ๑. ให้ผู้ถูกร้องรับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องกลับเข้าทำงานตามปกติและยุติการฝึกอบรมที่เป็นการ
              กดดันจิตใจลูกจ้าง
                    ๒. ให้ผู้ถูกร้องรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน ๑๐ คน กลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิม
                    ๓. ให้ผู้ถูกร้องจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ลูกจ้างคนละ ๒,๐๐๐ บาท ตามข้อตกลง
                    ๔. ให้ผู้ถูกร้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อตกลง

              การดำเนินการตรวจสอบ
              
     คณะอนุกรรมการได้พิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว  จึงได้กำหนดประเด็นการ
              ตรวจสอบ ดังนี้
              	     ประเด็นแรก ผู้ถูกร้องได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องเพราะเหตุเป็น
              สมาชิกของผู้ร้อง  ยื่นข้อเรียกร้องและเจรจาต่อรองกับผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
              พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือไม่ อย่างไร
              	     ประเด็นที่สอง  ผู้ถูกร้องไม่ให้ลูกจ้างที่ถูกปิดงานเข้าทำงานตามข้อตกลง  และจัดอบรมลูกจ้าง
              ดังกล่าว เป็นการทำผิดข้อตกลง และละเมิดสิทธิของลูกจ้างและผู้ร้องหรือไม่ เพียงใด และผู้ถูกร้องต้องยุติ
              การอบรมและให้ลูกจ้างเข้าทำงานหรือไม่
              	     ประเด็นที่สาม ผู้ถูกร้องเลิกจ้างลูกจ้าง จำนวน ๑๐ คนโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ และต้องรับลูกจ้าง
              กลับเข้าทำงานในสภาพการจ้างเดิม และต้องจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ลูกจ้าง คนละ ๒,๐๐๐ บาทหรือไม่
              	     ประเด็นที่สี่  ผู้ถูกร้องได้นำทหารจำนวน  ๔  นาย  เข้ามาในสถานประกอบกิจการของผู้ถูกร้อง
              ในระหว่างมีการเจรจาข้อเรียกร้องหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้องหรือไม่

              การรับฟังข้อเท็จจริง
              
     คณะอนุกรรมการได้รับฟังคำชี้แจงของผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง ลูกจ้างของผู้ถูกร้อง และสวัสดิการและคุ้มครอง
              แรงงานจังหวัดระยอง  พร้อมเอกสารประกอบคำชี้แจงแล้ว  และเมื่อวันที่  ๙  พฤษภาคม  ๒๕๕๐
              คณะอนุกรรมการได้จัดประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดระยอง โดยเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประกอบ
              ด้วย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หน่วยงานฝ่ายปกครอง หน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้ร้อง และ
              ผู้ถูกร้อง เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีข้อเท็จจริง สรุปได้ดังนี้

              ข้อเท็จจริงฝ่ายผู้ร้อง
              
     (๑) สหภาพแรงงาน ฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย เป็นสหภาพแรงงานประเภทกิจการผลิตชิ้นส่วน
              ยานยนต์ ทะเบียนเลขที่ รย. ๑๔/๒๕๔๗ ที่ตั้งสำนักงานเลขที่ ๒๔๔/๔๕ ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง
              จังหวัดระยอง
                    เมื่อประมาณเดือน  มิถุนายน  ๒๕๔๙  ผู้ร้องได้รับลูกจ้างของผู้ถูกร้องเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
              ขณะที่ยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้อง มีสมาชิกที่เป็นลูกจ้างของผู้ถูกร้องจำนวน ๔๖๔ คน และมีสมาชิกที่เป็นลูกจ้างของ
              บริษัท ฯ อื่น ๆ รวมทั้งสิ้น จำนวน ๒,๒๐๐ คน
                    (๒) บริษัทผู้ถูกร้อง ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวกับพลาสติกและโลหะ จำหน่ายให้แก่
              บริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท นิสสัน

        ๒๔๘  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   248                                                                     7/28/08   9:23:04 PM
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253