Page 247 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 247
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๑๐๑/๒๕๕๐
เรื่อง สิทธิแรงงาน กรณีนายจ้างละเมิดสิทธิและเสรีภาพในรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม
ผู้ร้อง สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย
ผู้ถูกร้อง บริษัท ไทยซัมมิท อีสเทิร์น ซีบอร์ด โอโต้พาร์ท อินดัสตรี จำกัด
นายสมศักดิ์ สุขยอด ประธานสหภาพแรงงาน ฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย ได้ร้องเรียน
ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคำร้องเลขรับที่ ๘๖/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
อ้างว่า บริษัท ไทยซัมมิท อีสเทิร์น ซีบอร์ด โอโต้พาร์ท อินดัสตรี จำกัด ละเมิดสิทธิของสหภาพแรงงาน
ฟอร์ด และมาสด้า ประเทศไทย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่ามีมูล จึงมอบหมายให้
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕
สาระสำคัญของคำร้อง
สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย ผู้ร้อง มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๔/๔๕ ตำบล
มาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง มีสมาชิกประกอบด้วยลูกจ้างของบริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์
(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท ฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัท มาสด้า
ประเทศญี่ปุ่น และลูกจ้างของบริษัทผู้ถูกร้อง เป็นต้น
เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ สหภาพแรงงานผู้ร้องได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทผู้ถูกร้องเพื่อขอ
ปรับปรุงสภาพการจ้างให้ดีขึ้น มีการเจรจาข้อเรียกร้องกัน ๔ ครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้ ในระหว่างเจรจาไกล่-
เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองนั้น มีทหารพร้อมอาวุธ
จำนวน ๔ คน ได้เข้ามาในบริเวณบริษัทผู้ถูกร้อง โดยนายอเนก อรรถจินดา ผู้จัดการส่วนงานบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์ของ ผู้ถูกร้อง เป็นผู้ขับรถพาบุคคลทั้ง ๔ ตระเวนรอบ ๆ บริษัทฯ ซึ่งผู้ถูกร้องไม่ประสงค์ให้
ลูกจ้างของตนเป็นสมาชิกของผู้ร้อง จึงข่มขู่และขัดขวางการใช้สิทธิของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้อง เช่น
รีบเร่งใช้สิทธิปิดงาน เพื่อประสงค์จะทำลายการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของผู้ร้อง เลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิก
ผู้ร้อง จำนวน ๑๐ คน โดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่และผละงาน และผู้ถูกร้องไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ ที่ตกลงจะรับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของผู้ร้องเข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่ ๑
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๔๗
Master 2 anu .indd 247 7/28/08 9:23:03 PM