Page 238 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 238
บทที่
๑๐
- เมื่อมีการใช้สิทธิหรือร้องเรียนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับนายจ้างหรือด้านแรงงาน
- เมื่อมีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อหน่วยงานของรัฐ หรือกลไกทางรัฐสภา
- เมื่อมีการร้องเรียนต่อองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือองค์กรด้านสิทธิแรงงานหรือ
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
(๒) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และ
ตอบสนองต่อสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม โดยให้ความสำคัญกับการ
จัดตั้งกลไกหรือสถาบันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์แรงงาน ลดขั้นตอนทาง
กฎหมายที่ซับซ้อนและยุ่งยาก หันเหการใช้เทคนิคทางกฎหมายเพื่อละเมิดสิทธิแรงงาน เพื่อให้เกิด
ความเป็นธรรมและความสมานฉันท์
(๓) พัฒนากลไกและแนวทางการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทแรงงานในระดับจังหวัดโดย
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยไม่ยึดติดหรือรอ
มาตรการทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ควรอยู่บนพื้นฐานของการส่งเสริมการดำรงอยู่ของ
สหภาพแรงงานหรือตัวแทนของลูกจ้าง เนื่องจากความขัดแย้งด้านแรงงานเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
มิใช่ความขัดแย้งส่วนบุคคล ไม่ควรแก้ไขปัญหาโดยเน้นให้ลูกจ้างรับเงินช่วยเหลือจากฝ่ายนายจ้าง
เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง
(๔) ให้ปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๘
ให้เป็นเครื่องมือทางด้านแรงงานสัมพันธ์ที่มีบทบาททั้งในเชิงป้องกัน แก้ไขเยียวยา และส่งเสริม
พัฒนา ให้สามารถแก้ไขปัญหาเชิงรุกหรือทันต่อเหตุการณ์ และมีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยเปิด
โอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน กลุ่มสหภาพแรงงานในเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ
และสถาบันทางวิชาการด้านแรงงานมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย
(๕) ให้จัดทำแผนปฏิบัติการณ์ด้านแรงงานสัมพันธ์โดยใช้แนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว
ทั้งในส่วนที่เพิ่งมีการจัดตั้งองค์กรแรงงาน และในส่วนที่มีแนวโน้มจะเกิดความขัดแย้ง
(๖) ให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ แนวปฏิบัติเพื่อ
ส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๘ และ มาตรฐานแรงงานไทย ๘๐๐๑ ให้มี
หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของลูกจ้างและองค์กรแรงงานในการดำเนินกิจกรรม การชุมนุมโดย
สงบปราศจากอาวุธ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเร่งรัดให้ผู้ประกอบการนำหลักจรรยาบรรณ
ทางการค้ามาบังคับใช้เพื่อให้เกิดผลปฏิบัติอย่างจริงจังโดยองค์กรแรงงานมีส่วนร่วม
๓.๓.๒ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มีสาระสำคัญ ดังนี้ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มีสาระสำคัญ ดังนี้
๓.๓.๒
ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ในประเด็นเกี่ยวกับ ในประเด็นเกี่ยวกับ
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ในเรื่องที่มาและองค์ประกอบเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีความชำนาญการ
พิเศษทางด้านแรงงานสัมพันธ์ และให้มีอำนาจแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ทันต่อเหตุการณ์แม้
ภายหลังมีคำพิพากษาของศาลแล้ว เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับคำพิพากษา โดยมีหลักการ ดังนี้
• ให้เพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โดยให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ
๒๓๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 238 7/28/08 9:22:01 PM