Page 234 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 234

บทที่
       ๑๐






              	     ๓. ข้อเสนอแนะด้านนโยบายและกฎหมาย
              
     จำแนกพิจารณาออกเป็นด้านต่าง ๆ ตามมิติสิทธิแรงงาน ดังนี้

              	     ๓.๑ ด้านการไม่เลือกปฏิบัติ

              
     ในส่วนนี้ จะพิจารณาจากกลุ่มคนทำงานทุกกลุ่มเป้าหมาย และทุกมิติตามกรอบการศึกษา
              โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับคนทำงานภาครัฐ คนทำงานในภาคนอกระบบ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ และ
              การจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม ดังจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังนี้


              	     	 ๓.๑.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย     มีสาระสำคัญ ดังนี้ ๓.๑.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย     มีสาระสำคัญ ดังนี้
              	     	 (๑) ให้การคุ้มครองแรงงานให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งในระบบและนอกระบบ ทั้งลูกจ้างหรือ(๑) ให้การคุ้มครองแรงงานให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งในระบบและนอกระบบ ทั้งลูกจ้างหรือ
              คนทำงานภาครัฐ  และภาคเอกชน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
              สิทธิและเสรีภาพ ที่เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิต และความเสมอภาคของคนทำงานในทุกสาขาอาชีพ
                      (๒) การจัดตั้งองค์การอิสระด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานและ
              ให้ครอบคลุมคนทำงานทุกสาขาอาชีพ  โดยไม่แบ่งแยกหรือกีดกันเนื่องจากความแตกต่างทางเพศ
              การนับถือศาสนา เชื้อชาติและสัญชาติ เป็นต้น

              	     	 (๓) ป้องกันมิให้มีการกีดกันแรงงานที่เป็นผู้พิการ หรือเป็นผู้ป่วย เอชไอวี (เอดส์) ที่ไม่มีอาการ
              แทรกซ้อนและยังสามารถทำงานได้ และป้องกันมิให้มีการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเอชไอวี (เอดส์) ทั้งใน
              ระยะก่อนการสมัครงาน ระหว่างที่รับเข้าทำงานแล้ว โดยมิได้รับความยินยอมจากคนทำงาน
                      (๔)  รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายการจ้างแรงงานข้ามชาติ  (แรงงานต่างด้าว)  ให้มีความ
              เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานข้ามชาติโดยมิให้กระทบต่อสิทธิการมีงานทำ
              ของคนไทย  และสถานการณ์ด้านแรงงานของประเทศไทย  ทั้งจะต้องดำเนินนโยบายเพื่อให้มีการ
              คุ้มครองแรงงานข้ามชาติให้ได้รับสิทธิตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้  และรับรองให้แรงงาน
              ข้ามชาติมีสิทธิอยู่ในประเทศไทยเพื่อใช้สิทธิตามกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม
                      หากไม่เร่งแก้ไข แรงงานไทยทั้งในระบบและนอกระบบจะได้รับผลกระทบและไม่มีความ

              มั่นคงในอาชีพ จนอาจทำให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม
                      (๕)  ให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานเพื่อให้ลูกจ้างในระบบเหมาช่วงหรือเหมา
              ค่าแรงงานในงานที่เป็นกระบวนการผลิตของสถานประกอบการได้รับสิทธิและสภาพการจ้างจากสถาน
              ประกอบการโดยเท่าเทียมหรือเป็นธรรม โดยเฉพาะจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครอง
              แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ควบคู่กัน

              	     	 ๓.๑.๒ ข้อเสนอการแก้ไขกฎหมาย     มีสาระสำคัญ ดังนี้ ๓.๑.๒ ข้อเสนอการแก้ไขกฎหมาย     มีสาระสำคัญ ดังนี้

                      (๑) ให้เร่งพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
              สภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับบูรณาการ ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคประชาชนได้ร่วมกันจัดทำตั้งแต่ปี
              ๒๕๔๔) ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ เป็นองค์การมหาชน ทำงานครบวงจรทั้งในด้านป้องกัน ส่งเสริม


        ๒๓๔  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   234                                                                     7/28/08   9:21:51 PM
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239