Page 239 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 239
บทสรุป
และข้อเสนอแนะ
ด้านแรงงาน เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย สังคมวิทยา และสิทธิมนุษยชน
เพื่อประสิทธิภาพในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายและการส่งเสริม
แรงงานสัมพันธ์ ในฐานะที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็น
กระบวนยุติธรรมทางด้านแรงงานชั้นต้นที่มีความสำคัญยิ่งต่อระบบ
แรงงานสัมพันธ์ (มาตรา ๓๗)
• ให้คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นที่สุด
การฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ไ
ไม่เป็นเหตุทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากมีการฝ่าฝืนคำสั่งของ ม่เป็นเหตุทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากมีการฝ่าฝืนคำสั่งของ
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ผู้เสียหายมีสิทธิดำเนินคดีอาญาได้ทันที (มาตรา ๑๒๕-๑๒๗)
• ให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ในการกำหนดมาตรการ
ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงรุก หรือเชิงป้องกัน หรือมาตรการฟื้นฟู หรือส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์
ได้ตลอดเวลา (มาตรา ๔๑)
• กำหนดมาตรการคุ้มครองเรื่องการกระทำที่ไม่เป็นธรรมโดยให้ความสำคัญ
กับการคุ้มครององค์กรแรงงานและความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้างหรือคนทำงาน มิใช่เน้นแต่
การชดใช้ค่าเสียหายแทนการกลับเข้าทำงาน และให้มีมาตรการเยียวยาความเสียหายที่ได้รับ
ในระหว่างถูกกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วย
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาภายหลัง
มีคำสั่งด้วย
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๓๙
Master 2 anu .indd 239 7/28/08 9:22:09 PM