Page 233 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 233
บทสรุป
และข้อเสนอแนะ
สิทธิแรงงานอันเนื่องจากระบบการจ้างเหมาหรือการจ้างงานยืดหยุ่น ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในการ
แก้ไขปรับปรุงกฎหมายด้านแรงงานเพื่อให้ครอบคลุมคนทำงานทุกภาคส่วนและไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ในการจ้างงาน
ยังไม่มีนโยบายหรือทิศทางในการปรับปรุงระบบกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน เพื่อให้
แรงงานที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันเข้าถึงการใช้สิทธิตามกฎหมายได้โดยรวดเร็วและ
เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน และการ
คุ้มครองเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม ให้แก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์โดยคำนึง
ความมั่นคงในการทำงานและการดำรงอยู่ขององค์กรแรงงาน เช่น สหภาพแรงงาน
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังมิได้มีนโยบายที่ชัดเจนต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการคุ้มครองงานที่รับไปทำที่บ้าน และเสรีภาพการรวมตัวและการเจรจา
ต่อรองร่วมตลอดจนอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การสหประชาชาติที่เกี่ยว
กับแรงงานย้ายถิ่นหรือแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นสถานการณ์แรงงานที่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน
เป็นอันมากในประเทศไทย
สรุปผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
ประเภท จำนวนเรื่อง มีรายงานผล ผลการตรวจสอบ หมายเหตุ
การละเมิด ร้องเรียน การตรวจสอบ ณ กันยายน ๒๕๕๐
โดย กสม. ละเมิดสิทธิ ไม่ละเมิดสิทธิ
แรงงาน ๑๕๗ ๖๘ ๔๘ ๒ ตกลงกันได้ ๑๒ ราย
ภาคเอกชน ยุติตามมาตรา ๒๒
จำนวน ๖ ราย
แรงงาน ๕๐ ๒๒ ๒๐ ๒ ยุติตามมาตรา ๒๒
ภาครัฐ จำนวน ๘ ราย
แรงงาน ๓ ๑ ๑ - เป็นเรื่องร้องเรียนเชิง
นอกระบบ นโยบายและกฎหมาย
แรงงาน ๑๘ ๖ ๖ -
ข้ามชาติ
แรงงานไทย ๑๒ ๔ ๔ -
ไปทำงาน
ต่างประเทศ
รวม ๒๔๐ ๑๐๑ ๗๙ ๔ * อยู่ระหว่างการ
ตรวจสอบ และจัดทำ
รายงาน๑๓๙ เรื่อง
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๓๓
Master 2 anu .indd 233 7/28/08 9:21:50 PM