Page 236 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 236

บทที่
       ๑๐






              	     
 ๓.๒ ด้านการคุ้มครองแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
                        กองทุนเงินทดแทนและหลักประกันสังคม

              	     ๓.๒.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย    มีสาระสำคัญ ดังนี้     มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    ๓.๒.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                        (๑) ให้มีนโยบายเพื่อคุ้มครองคนทำงานที่ประสบอันตรายจากการทำงานให้ได้รับการรักษา(๑) ให้มีนโยบายเพื่อคุ้มครองคนทำงานที่ประสบอันตรายจากการทำงานให้ได้รับการรักษา
              พยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของอาชีวอนามัยจนสามารถ
              ประกอบอาชีพที่เหมาะสมได้ตามปกติ
                      จัดระบบบริหารจัดการในเรื่องดังกล่าวอย่างครบวงจร ทั้งในด้านการส่งเสริมและป้องกัน
              การรักษาเยียวยาและทดแทน การฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย การฝึกทักษะอาชีพ และการจัดหา

              งานที่เหมาะสมให้กับคนทำงานที่ประสบอันตรายจากการทำงาน
                      (๒)  ให้มีนโยบายคุ้มครองแรงงานหญิงมีครรภ์อย่างจริงจัง  เนื่องจากนายจ้างและสังคม
              ยังขาดความเข้าใจในประเด็นนี้ ไม่ได้มองว่าหญิงมีครรภ์กำลังทำหน้าที่เพื่อสังคม และเจตนารมณ์
              ของการคุ้มครองคือแม่และเด็ก ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่ง
                      (๓)  ให้มีนโยบายยกระดับมาตรการทางบริหาร  และการบังคับใช้กฎหมายด้านแรงงาน
              เพื่อให้นายจ้างหรือผู้จ้างงานเข้าระบบกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมอย่างครบถ้วนถูกต้อง
              โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการจ้างเหมาและการจ้างงานระยะสั้น ตลอดจนแรงงานนอกระบบและ

              กลุ่มแรงงานข้ามชาติ
                      (๔) ให้รัฐบาลประสานงานกระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม
              เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการในการตรวจสอบผู้ประกอบการหรือหน่วยธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย
              ไม่มีทรัพย์สินเป็นของตนเอง มีภาระหนี้สิน หรือการประกอบการอยู่ในภาวะเสี่ยง เป็นต้น เพื่อให้มี
              หลักประกันสิทธิของคนทำงานตามกฎหมาย
                      ส่วนที่มีการย้ายฐานการผลิตและมีการปิดกิจการหรือเลิกจ้างลูกจ้างจำนวนมาก
              ให้มีมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างให้ได้รับความเป็นธรรมและมีความมั่นคงในอาชีพด้วย มิใช่เพียงแต่
              การได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายเท่านั้น
                                                                    (๕)  ให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

                                                             กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนและกฎหมายว่า
                                                             ด้วยประกันสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับการเพิ่ม
                                                             ช่องทางหรือสร้างกลไกทางกฎหมาย รองรับ
                                                             เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานหรือผู้ประกันตนเข้าถึงสิทธิ
                                                             ตามกฎหมายได้ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่
                                                             อาจดำเนินการตามกฎหมายภายในระยะ
                                                             เวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือเกิดความผิด

                                                             พลาดทางเทคนิคในการดำเนินคดีตาม
                                                             กฎหมายหรือศาลยังมิได้วินิจฉัยในประเด็น
                                                             สำคัญแห่งคดี


        ๒๓๖  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   236                                                                     7/28/08   9:21:59 PM
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241