Page 235 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 235

บทสรุป
                                                                                 และข้อเสนอแนะ






              ตรวจรักษา แก้ไขเยียวยา ชดใช้ทดแทน บำบัดฟื้นฟู
              องค์ประกอบพหุภาคี และให้โอนกองทุนเงินทดแทน
              มาอยู่ในสถาบัน ฯ
                    ทั้งนี้ ให้มีผลครอบคลุมแรงงานนอกระบบด้วย
                      (๒)  ให้เร่งรัดการประกาศใช้ร่างพระราช
              บัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาผู้รับงานไป
              ทำที่บ้าน  พ.ศ.  ...  ตามหลักการและแนวคิดของ
              เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
                      (๓)  แก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ

              ทั้งหมดด้วย  โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ชัดเจนหรือมีกำลังในการจ่ายเงินสมทบเท่านั้น
              เพราะทุกสาขาอาชีพล้วนมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
                    แต่เนื่องจากแรงงานมีจำนวนมากและมีความหลากหลาย  จึงไม่จำเป็นต้องเริ่มบังคับใช้
              พร้อมกันทั้งหมด แต่ควรมีแผนงานและกรอบเวลาที่ชัดเจน
                      (๔) แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครอง
              แรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๒ (๒) ที่มิให้ใช้กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวกับนายจ้างและลูกจ้างเรือประมง
              ที่ไปดำเนินการประจำอยู่นอกราชอาณาจักรติดต่อกันตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป เนื่องจากสถานการณ์กิจการ

              ประมงทะเลเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว
                      (๕) แก้ไขกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๔๑ ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
              พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ (๒) ที่ห้ามมิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บางมาตรากับ
              ลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้มีธุรกิจรวมอยู่ด้วย เพื่อให้ลูกจ้างทำงานบ้านได้รับการคุ้มครองอย่างเป็น
              ธรรม เหมาะสมกับคุณค่าของการทำงาน
              	     	 (๖) แก้ไขพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ห้ามมิให้แรงงานข้ามชาติเป็นผู้จัดตั้ง
              สหภาพแรงงานหรือเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน เพราะขัดต่ออนุสัญญาแรงงาน ILO ฉบับที่ ๘๗
              และ ฉบับที่ ๙๘ และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
                      แก้ไขพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้มีการบังคับใช้กับกิจการประมงทะเล

              เนื่องจากเป็นงานที่มีความเสี่ยงอันตราย  โดยสภาพของงานมิใช่งานเกษตรกรรม  อีกทั้งมีการใช้
              แรงงานตลอดปี ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าแรงงานข้ามชาติจะเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายหรือไม่
                      แก้ไขกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้แรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายมีสิทธิอยู่
              ในราชอาณาจักรเพื่อดำเนินคดีหรือใช้สิทธิตามกฎหมาย
              	     	 ตลอดจนแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบที่ละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ เช่น ประกาศจังหวัด
              ระนอง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระยอง เป็นต้น ที่ควบคุมหรือจำกัดการใช้สิทธิและเสรีภาพของแรงงาน
              ข้ามชาติมากเกินไป

                      (๗) แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๕๙ ในเรื่องการเปรียบ
              เทียบปรับเพื่อยกเว้นโทษจำคุกหรือการดำเนินคดีอาญา ไม่ให้ใช้กับการละเมิดสิทธิแรงงานที่สำคัญ
              เช่น การละเมิดสิทธิแรงงานเด็ก ค่าตอบแทนการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๓๕





     Master 2 anu .indd   235                                                                     7/28/08   9:21:55 PM
   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240