Page 240 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 240

บทที่
       ๑๐






                    ๔. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านคนทำงานภาครัฐ
มีสาระสำคัญ ดังนี้

                    (๑) จัดแบ่งประเภทของรัฐวิสาหกิจตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งให้ชัดเจน เพื่อรัฐบาลจะได้
              สนับสนุนได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องและไม่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ทั้งในด้านสวัสดิการและสภาพ
              การจ้างของพนักงาน ระหว่างรัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไรเชิงธุรกิจ กับส่วนที่บริการสาธารณะหรือสังคม
              และนโยบายการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างจริงจังและจริงใจ
                      (๒)  มติคณะรัฐมนตรีที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของรัฐวิสาหกิจจะต้อง
              คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพนักงานของรัฐวิสาหกิจนั้น และต้องมีมติในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนด้วย
                      (๓)  ในกรณีที่จะมีการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ  ซึ่งกระทบต่อสิทธิและความมั่นคงในการ

              ทำงานของพนักงาน จะต้องมีการแจ้งข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง มีหลักเกณฑ์ที่โปร่งใสเป็นธรรมใช้หลัก
              ธรรมาภิบาล โดยต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนกระทั่งสิ้นสุด
              โดยคำนึงถึงหลักประกันเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานเป็นสำคัญ
                      (๔)  เร่งจัดทำระเบียบหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพของลูกจ้างและ
              นายจ้างภายในสถานประกอบการของนายจ้าง  โดยเฉพาะเรื่องการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม
              การประชุมหรือชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และการดำเนินงานหรือการใช้สิทธิตามกฎหมาย
              ภายในสถานประกอบการของนายจ้าง

                      (๕)  ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์ทั้งในส่วนภาคเอกชนและภาค
              รัฐวิสาหกิจให้มีการเชื่อมประสานกันและไม่แบ่งแยกคนทำงาน
                      (๖) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ลูกจ้างภาครัฐทุกองค์กร ได้รับหลักประกันทั้งค่าจ้างสวัสดิการ
              และการรวมตัวอย่างน้อยเท่ากับลูกจ้างภาคเอกชน

              	     ๕. ข้อเสนอแนะด้านนโยบายกรณีคนไทยไปทำงานต่างประเทศ

              
     
 เนื่องจากกรณีคนงานไทยไปทำงานในต่างประเทศถูกละเมิดสิทธิหรือถูกปฏิบัติโดยไม่เป็น
              ธรรมจนได้รับความเดือดร้อนนั้น มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความต้องการแรงงานของประเทศ

              ปลายทาง  ความต้องการรายได้ของคนงานไทย  ผลประโยชน์ของธุรกิจจัดหางาน  ผู้เกี่ยวข้องกับ
              กระบวนการค้ามนุษย์ และค่านิยมการไปทำงานต่างประเทศ
                      แนวทางและมาตรการในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาจึงต้องดำเนินการทั้งในระดับชุมชนซึ่ง
              เป็นต้นทางของการไปทำงานต่างประเทศ ระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ คณะอนุกรรมการสิทธิ
              แรงงานจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล ดังนี้
                      (๑) ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศทั้งในส่วนที่เป็นแรงงาน
              มีฝีมือและไร้ฝีมือ ทั้งในด้านกฎหมายและมาตรการบริหาร โดยเฉพาะการส่งเสริมและพัฒนา เช่น

              ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานและข้อมูลที่จำเป็น  การพัฒนาทักษะฝีมือ กองทุนเงินกู้เกี่ยวกับอาชีพ
              การฝึกสอนภาษา การดูแลช่วยเหลือครอบครัวของคนงานไทยในกรณีที่มีปัญหาที่ประเทศปลายทาง
              และ การสานต่องานที่ทำในต่างประเทศหรือสร้างอาชีพรองรับเมื่อคนงานไทยกลับประเทศ


        ๒๔๐  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   240                                                                     7/28/08   9:22:09 PM
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245