Page 243 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 243

บทสรุป
                                                                                 และข้อเสนอแนะ






                      (๕) สนับสนุนการลงทุนของชาวต่างชาติอย่างเป็นธรรม และทำความเข้าใจแก่ผู้ลงทุนใน
              เรื่องนโยบาย  กฎหมาย  กฎระเบียบหรือข้อบังคับต่าง  ๆ  ของไทย  และโดยเฉพาะวัฒนธรรมของ
              แรงงานไทย เพื่อป้องกันมิให้แปลเจตนาคลาดเคลื่อนหรือเป็นผลให้ความขัดแย้งบานปลาย
                      ในส่วนที่ย้ายฐานการผลิตเนื่องจากเป็นกลยุทธ์ทางการค้าโดยที่กิจการมิได้ประสบปัญหา
              รัฐจะต้องมีมาตรการเพื่อคุ้มครองแรงงานให้ได้รับความเป็นธรรม มิใช่จำกัดอยู่เพียงการได้รับสิทธิ
              ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแรงงานเท่านั้น
                      (๖) เร่งดำเนินการเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗
              ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และเจรจาต่อรองร่วม และคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน
              ฉบับที่ ๑๗๗ ว่าด้วยการคุ้มครองงานที่รับไปทำที่บ้าน ฉบับที่ ๙๗ ว่าด้วยการย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานทำ

              และฉบับที่ ๑๔๓ ว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ

              	     ๙. ข้อเสนอมาตรการด้านการศึกษา

                                                                (๑)  ส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
                                                        เกี่ยวกับเจตนารมณ์ หลักการและสาระสำคัญของ
                                                        กฎหมายแรงงานและสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานใน

                                                        โรงเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่
                                                        ของทุกฝ่ายเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้า
                                                        สู่โลกของการทำงาน
                                                                (๒) ให้การศึกษาด้านแรงงานสัมพันธ์ที่ดี
                                                        แก่ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง  เพื่อให้นายจ้างเกิด
              ความรู้ความเข้าใจและตะหนักถึงความต้องการของลูกจ้างปรับเปลี่ยนเจตคติทางลบของนายจ้างที่มี
              ต่อลูกจ้างเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของลูกจ้างในด้านต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การแรงงานสัมพันธ์ที่ดี
              	     	 (๓)  ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านแรงงาน  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง
              แรงงาน และทัศนคติเชิงลบต่อขบวนการแรงงาน กลุ่มเป้าหมายที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่

              เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการต่างๆ
              	     	 (๔) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์หลักการและสาระสำคัญของกฎหมาย
              แรงงานให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ  เพื่อที่จะสามารถกำหนดท่าทีที่เหมาะสมและเป็นธรรม  ต่อความ
              ขัดแย้งระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง บุคลากรอื่นๆ ของรัฐก็ควรมีความเข้าใจด้านแรงงานเช่นกัน
                      (๕)  ควรเผยแพร่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงานให้แพร่หลายในสังคม
              และชี้ให้เห็นถึงความเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวม อันจะทำให้สังคมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว
              อย่างชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น

              	     	 (๖) คณะนิติศาสตร์ จะต้องปรับปรุงหลักสูตรการสอนวิชากฎหมายแรงงาน โดยเชื่อมโยง
              ประเด็นแรงงานกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม เพื่อให้การศึกษากฎหมายแรงงานและ
              สิทธิมนุษยชนด้านแรงงานอย่างเป็นระบบ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๔๓





     Master 2 anu .indd   243                                                                     7/28/08   9:22:17 PM
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248