Page 241 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 241
บทสรุป
และข้อเสนอแนะ
(๒) บริหารจัดการหน่วยงานรัฐและองค์กรชุมชนในลักษณะบูรณาการ ให้มีบทบาทในการ
ปกป้องและคุ้มครองสิทธิของคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศตั้งแต่ต้นทาง คือระดับชุมชน เช่น การ
ให้ความรู้ในข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นในเรื่องตำแหน่งงานหรือสภาพการจ้าง กฎหมายและระเบียบที่
เกี่ยวข้องของประเทศปลายทาง หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศที่ให้ความ
ช่วยเหลือแก่คนงานไทย เป็นต้น
(๓) จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกันหรือ
แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้านแรงงานที่ประเทศปลายทาง
(๔) จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอเพื่อส่งเสริมให้องค์กรเอกชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่มี
วัตถุประสงค์ด้านสิทธิแรงงานหรือสิทธิมนุษยชนแก่คนงานไทยที่ประเทศปลายทาง ตลอดจนการสร้าง
เครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
(๕) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีบทลงโทษและมาตรการการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่มีการหลอกลวง การทุจริต หรือการเอาเปรียบแรงงาน หรือมีการกระทำการเข้าข่ายการ
ค้ามนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของเอกชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เป็นคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
๖. ข้อเสนอแนะต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ
ในรายงานนี้ จะกล่าวเน้นเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้น เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการละเมิดสิทธิแรงงานในหลายมิติ สรุปสาระสำคัญข้อเสนอได้ ดังนี้
(๑) ให้ถือเป็นพันธกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในอันที่จะนำหลักการและแนวคิดด้าน
สิทธิมนุษยชนมากำหนดนโยบายและแผนงาน เพื่อให้มีการดำเนินงานตามแผนงานในทุกระดับ
รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และความเข้าใจในหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
(๒) ควรดำเนินนโยบายเพื่อให้มีมาตรการในการป้องกันหรือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ด้านแรงงาน กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปรับผลประโยชน์จากนายจ้างหรือผู้เกี่ยวข้อง และกระทำการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานในกรณีต่าง ๆ เช่น การตรวจค้น การจับกุมคุมขัง การดำเนินคดีอาญา
การเกลี้ยกล่อมให้ลูกจ้างลาออกจากงานหรือเลิกเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงาน
ทั้งนี้ให้เข้มงวดกวดขันในทางบริหาร วินัย และการดำเนินคดีอาญาโดยเด็ดขาด
๗. ข้อเสนอแนะต่อสำนักงานศาลยุติธรรม
(๑) พัฒนาศาลแรงงานให้เป็นศาลชำนัญการพิเศษด้านแรงงาน
ในการไกล่เกลี่ยคดีของศาลแรงงาน ควรเปิดโอกาสให้ผู้รอบรู้ทางด้านแรงงาน นักเศรษฐศาสตร์
และนักสิทธิมนุษยชน มีบทบาทหรือมีส่วนช่วยงานของศาลด้วย และให้มีแนวทางหรือนโยบาย
ให้มีการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งทางด้านแรงงานก่อนเป็นคดี โดยเฉพาะเมื่อเริ่มปรากฏความขัดแย้ง
เพื่อจะได้ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาได้ทันกาล
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๔๑
Master 2 anu .indd 241 7/28/08 9:22:11 PM