Page 237 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 237
บทสรุป
และข้อเสนอแนะ
(๖) แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิแรงงานให้มีการบริหาร การบังคับใช้กฎหมาย
และการตรวจแรงงานในระบบ “สมบูรณ์ในจุดเดียวé” (One Stop Service) เช่นการคุ้มครอง
ลูกจ้างมีครรภ์ การย้ายสถานประกอบการที่กระทบต่อลูกจ้าง การตรวจสอบระบบการจ้างเหมาช่วง
แรงงาน
๓.๒.๒ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มีสาระสำคัญ ดังนี้ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มีสาระสำคัญ ดังนี้
๓.๒.๒
(๑) แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ในประเด็น ดังต่อไปนี้ (๑) แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ในประเด็น
๑. เพิ่มค่าทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างพักรักษาตัวในอัตราที่เหมาะสม เช่น
ร้อยละ ๘๐ ของค่าจ้างโดยให้รัฐบาลร่วมรับผิดชอบด้วย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของนายจ้าง
๒. ขยายวงเงิน ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ของร่างกายจนหายเป็นปกติ
(๒) ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์ให้ชัดเจนและครอบคลุม เช่น ให้มี
มาตรการคุ้มครองการเลิกจ้างหญิงมีครรภ์ การลาที่เกี่ยวเนื่องกับการมีครรภ์ การจัดตำแหน่งงานที่
เหมาะสม ไม่ปฏิบัติต่อลูกจ้างหญิงมีครรภ์ในลักษณะçบุคคลที่เป็นภาระหรือสร้างปัญหาให้คนอื่นé
(๓) แก้ไขประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลด
ส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีอันตราย หรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ
กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้มีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณา ลดส่วนอัตราเงินสมทบ
ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อย่างชัดเจน
กล่าวคือ การจะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายเงินสมทบกรณีใด ต้องเป็นสวัสดิการที่นายจ้าง
จัดให้ลูกจ้าง โดยมีอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนทุกกรณีทั้งการบริการทางการแพทย์ค่ารักษา
พยาบาล และเงินทดแทนการขาดรายได้โดยนายจ้างต้องไม่มีเงื่อนไขที่เป็นภาระต่อการได้รับ
ประโยชน์ทดแทนของลูกจ้าง
(๔) แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ในประเด็นคณะกรรมการประกันสังคม
สำนักงานและกองทุนประกันสังคม เพื่อให้มีองค์ประกอบ ที่มา บทบาทและอำนาจหน้าที่ เป็นไปตาม
หลักการ อิสระ โปร่งใส ชอบธรรม มืออาชีพ และประชาชนมีส่วนร่วม(โดยเฉพาะผู้ประกันตน)
๓.๓ ข้อเสนอด้านการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม (การแรงงานสัมพันธ์)
๓.๓.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีสาระสำคัญ ดังนี้ ๓.๓.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีสาระสำคัญ
(๑) ให้มีนโยบายเร่งด่วนในการกำหนดมาตรการคุ้มครองลูกจ้างและองค์กรของลูกจ้าง
ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องดังต่อไปนี้
- เมื่อมีการใช้มาตรการจรรยาบรรณทางการค้า เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางด้านแรงงาน
- เมื่อมีข้อขัดแย้งในระหว่างเตรียมการจัดตั้งองค์กรหรือในขั้นตอนการเจรจาต่อรองหรือ
การใช้สิทธิเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๓๗
Master 2 anu .indd 237 7/28/08 9:22:01 PM