Page 232 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 232
บทที่
๑๐
ข้ามชาติถูกเลือกปฏิบัติโดยกฎหมายด้านแรงงานในหลายมิติ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่บังเกิดผล
ในการคุ้มครองแรงงานและไม่มีความเป็นธรรม
กลไกการตรวจแรงงาน การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ทั้งในส่วนที่
เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและเงินทดแทน และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในส่วนที่
เกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง หรือการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ยังขาดหลักคิดด้านความมั่นคงในการทำงานและสิทธิมนุษยชน จึงมีการไกล่เกลี่ยให้มีการประนีประนอม
ยอมความกันโดยบางครั้งละเมิดต่อมาตรฐานแรงงานและไม่คำนึงถึงความมั่นคงในการทำงาน
เจ้าหน้าที่มักจะเกลี้ยกล่อมให้คนทำงานรับเงินแทนการกลับเข้าทำงาน กรณีดังกล่าวนี้จำเป็นต้อง
ปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วน
มีทางเลือกอื่นที่มิใช่กระบวนการยุติธรรมในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานน้อยมาก เจ้าหน้าที่
ของรัฐมักจะผลักภาระให้คนทำงานมาใช้สิทธิทางกฎหมายตามกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก ในขณะ
ที่คนทำงานมีข้อจำกัดอย่างมาก และขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมกินเวลายาวนานมาก
๒.๓ ด้านนโยบายของรัฐ
รัฐบาลยังคงเน้นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ที่ยังคงก่อให้เกิดปัญหาหรือช่องว่างในระบบ
เศรษฐกิจ ดังที่ภาคประชาชนมักเรียกร้องต่อรัฐบาลให้มีนโยบายเศรษฐกิจที่เสรีและต้องเป็นธรรมด้วย
ดังนั้นประเทศไทยจึงเป็นเป้าหมายของธุรกิจหรือทุนข้ามชาติ รัฐบาลยังไม่มีมาตรการแก้ไขปัญหาการ
จ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ที่ยังคงเน้นการแข่งขันในเรื่องค่าจ้างแรงงานราคาถูก ไม่มีมาตรการคุ้มครอง
๒๓๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 232 7/28/08 9:21:49 PM