Page 231 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 231
บทสรุป
และข้อเสนอแนะ
ส่วนพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.
๒๕๑๘ มีบทบัญญัติที่เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติอย่างชัดเจน นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐ
ด้านความมั่นคงยังคงมีบทบาทสำคัญในการจัดระบบบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ หรือแรงงาน
ต่างด้าว ดังกรณีการออกประกาศจังหวัดเพื่อควบคุมและบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีเนื้อหาที่
จำกัดสิทธิและเสรีภาพของแรงงานข้ามชาติจนเกินขอบเขต และละเลยต่อหลักสิทธิมนุษยชน
ซึ่งเครือข่ายภาคประชาชนได้เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศจังหวัดดังกล่าว
๒. มูลเหตุการละเมิด
ปัจจัยการละเมิดสิทธิแรงงานประกอบด้วย ปัจจัยด้านนายจ้างหรือผู้ประกอบการ
ด้านกฎหมาย การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และกระบวนการยุติธรรม และนโยบายของรัฐ กล่าวคือ
๒.๑ ด้านนายจ้าง อาศัยกระแสโลกาภิวัตน์และการปรับกลยุทธ์ในการจ้างงานแบบยืดหยุ่น
ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงานในระดับโครงสร้างและนโยบาย ส่งผลต่อกลุ่มคนทำงานทุกกลุ่ม
เป้าหมาย มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานต่อกลุ่มแรงงานในระบบ การจ้างงานนอกระบบมีปริมาณ
เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องรับภาระด้านกฎหมายแรงงานแม้แต่ฉบับเดียว
นายจ้างใช้อำนาจในการบริหารกิจการโดยไม่คำนึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และหลักการการเป็น
หุ้นส่วนด้านแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง จึงเกิดปรากฏการณ์การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ศักดิ์
ศรีความเป็นมนุษย์และการละเมิดต่อสหภาพแรงงานอย่างรุนแรง เช่น การใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิด
การค้นตัวลูกจ้างอย่างอุกอาจและล่วงเกินสิทธิส่วนตัว เป็นต้น ปฏิเสธการใช้มาตรการไกล่เกลี่ยหรือ
การปรองดองที่คำนึงความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้าง แต่ยอมชดใช้เงินจำนวนมากแทนการรับ
ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน และเน้นแต่การใช้กระบวนการยุติธรรมทางศาล เพราะนายจ้างเป็นฝ่ายได้เปรียบ
๒.๒ ด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม กฎหมายด้านแรงงานยังคงมีการแบ่งแยก
คนทำงานในภาครัฐออกจากภาคส่วนอื่น ๆ แบ่งแยกคนทำงานในรัฐวิสาหกิจกับคนทำงานในภาค
เอกชน แบ่งแยกคนทำงานในระบบกับภาคนอกระบบ คนไทยไปทำงานในต่างประเทศ และแรงงาน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๓๑
Master 2 anu .indd 231 7/28/08 9:21:42 PM