Page 229 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 229

บทสรุป
                                                                                 และข้อเสนอแนะ






              มาตรฐานแรงงาน ขาดการบูรณาการการบังคับใช้กฎหมาย มีแนวคิดว่าการร้องเรียนหรือการเรียกร้อง
              สิทธิตามกฎหมายเป็นการทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ และทำลายระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งเป็น
              ความคิดที่ไม่ถูกต้อง

              	     กลุ่มคนทำงานภาครัฐ  คนทำงานในกลุ่มนี้มีทั้งข้าราชการ  พนักงานในองค์การของรัฐ
              พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวตามงบประมาณ และลูกจ้างชั่วคราวตามงบรายได้
                    กลุ่มคนทำงานในหน่วยงานราชการถูกละเมิดมากที่สุดเนื่องจากต้องทำงานภายใต้การจ้างงาน
              ที่ไม่เป็นธรรม เช่น สัญญาจ้างระยะสั้น หรือสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาคราวละไม่เกิน ๑ ปี
              ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นที่แรงงานในภาคเอกชนได้รับ บางเรื่องต่ำกว่ามาตรฐานแรงงาน ไม่มีสิทธิ

              จัดตั้งสหภาพแรงงาน หรือรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน ตลอดจนมีข้อจำกัด
              ในการเรียกร้องหรือทวงถามสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพราะอาจไม่ได้รับการต่ออายุสัญญาจ้าง
                    ส่วนคนทำงานในรัฐวิสาหกิจ ถูกแบ่งแยกจากกลุ่มแรงงานในภาคเอกชนโดยกฎหมาย มีการ
              ละเมิดโดยนโยบายของรัฐคือการแปรรูป การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ หรือการยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ การ
              แปลงรัฐวิสาหกิจเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ใน
              บังคับใช้ของกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจ และมีการนำระบบการจ้างเหมามาใช้อย่างแพร่หลาย ทำให้
              คนทำงานไม่ได้รับสภาพการจ้างที่เป็นธรรมและไม่มีความมั่นคงในการทำงาน รวมทั้งลูกจ้างชั่วคราว

              ด้วยเช่นกัน
                    หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีการยุบเลิก รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเฉพาะที่เป็นสิทธิตามกฎหมาย
              แต่หาได้คำนึงถึงความเดือดร้อนตามความเป็นจริงแต่อย่างใดไม่  มีการเลือกปฏิบัติในการจัดสรร
              งบประมาณให้แก่รัฐวิสาหกิจ  กระทบต่อมาตรฐานสภาพการจ้างและสวัสดิการของพนักงาน
              แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลดำเนินนโยบายโดยพนักงานรัฐวิสาหกิจไม่มีส่วนร่วม

              	     กลุ่มคนทำงานนอกระบบ
                    แรงงานในกลุ่มนี้เป็นผลิตผลของการปรับตัวของนายจ้าง เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการจ้าง
              งานประกอบกับความต้องการลดต้นทุนการผลิตเพื่อการแข่งขันทางการค้าและการรักษากำไรสูงสุด

              จึงเกิดแนวโน้มของการจ้างงานในลักษณะแอบแฝงหรือซ่อนเร้นมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อ
              หลบเลี่ยงความผูกพันหรือความรับผิดตามที่กฎหมายด้านแรงงานกำหนดไว้ เช่น อาศัยสัญญาชนิดต่างๆ
              ที่มิใช่สัญญาจ้างแรงงาน ทำให้แรงงานเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายด้านแรงงานทั้งหมด
                    แรงงานกลุ่มนี้นับวันขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีจำนวน ๒๓ ล้านคนโดยรวมผู้ที่
              ประกอบอาชีพอิสระที่มิได้เป็นลูกจ้างและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจด้วย กลุ่มแรงงาน
              นอกระบบที่มีบทบาทสำคัญแต่ยังถูกเอาเปรียบอย่างมาก เช่น กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ครัวเรือน
              ผู้ผลิตเพื่อขาย กลุ่มเกษตรกรในระบบเกษตรพันธะสัญญา เป็นต้น

                    การขับเคลื่อนของรัฐบาลในนโยบายและกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานนอกระบบเป็นไปโดย
              ล่าช้ามาก ขณะนี้มีเพียงกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๔๗
              แต่ยังไม่ครอบคลุมคนทำงานทั้งหมดและยังไม่มีผลคุ้มครองในทางปฏิบัติ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๒๙





     Master 2 anu .indd   229                                                                     7/28/08   9:21:38 PM
   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234