Page 228 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 228

บทที่
       ๑๐





































                                                            สภาพแวดล้อมในการทำงาน  (ทวิภาคี)  ถูก
                                                            ครอบงำโดยนายจ้าง เกิดอุบัติเหตุในที่ทำงาน

                                                            ซ้ำซากเพราะขาดมาตรการป้องกันและการให้
                                                            ความรู้ นายจ้างไม่เปิดโอกาสให้สหภาพแรงงาน
                                                            มีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัย  ลูกจ้างที่
                                                            เจ็บป่วยมักไม่ได้รับการรักษาพยาบาลให้หายดี
                                                            เพราะจะถูกเลิกจ้างหรือเสนอผลประโยชน์ให้
                                                            ออกจากงานเสียก่อน
                    น
                    นายจ้างใช้อำนาจทางบริหารสั่งการและควบคุมการทำงานของลูกจ้างอย่างเข้มงวด หักเงิน ายจ้างใช้อำนาจทางบริหารสั่งการและควบคุมการทำงานของลูกจ้างอย่างเข้มงวด หักเงิน
              ค่าจ้างโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่มอบหมายงานให้ทำจนเป็นเหตุให้สูญเสียรายได้ ถูกย้ายหน้าที่การงาน
              โดยไม่เป็นธรรม  ถูกคุกคาม  กลั่นแกล้ง  กีดกันและถูกเสนอผลประโยชน์เพื่อมิให้เกี่ยวข้องกับ

              สหภาพแรงงาน  หรือการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย  ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้สหภาพแรงงาน
              ล้มเลิก มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิของสหภาพแรงงาน เช่น ห้ามลูกจ้างจัดกลุ่ม
              ศึกษาในหอพักหรือในสถานประกอบกิจการ ห้ามแจกจ่ายหรือเผยแพร่เอกสารของสหภาพแรงงานใน
              สถานประกอบกิจการ เป็นต้น การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ตลอดจนการอาศัยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
              และทหารเพื่อกดดันลูกจ้างในระหว่างเจรจาต่อรอง  เกลี้ยกล่อมให้ลาออกจากงานมิฉะนั้นอาจถูก
              นายจ้างดำเนินคดีอาญา เป็นต้น
                    กลไกการตรวจแรงงาน กลไกการวินิจฉัยชี้ขาดของพนักงานตรวจแรงงาน เจ้าหน้าที่สำนักงาน

              ประกันสังคมและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ยังขาดประสิทธิภาพ ตีความกฎหมายในทางแคบ
              ไกล่เกลี่ยโดยไม่เป็นธรรม เน้นให้ลูกจ้างประนีประนอมกับนายจ้างเพื่อให้มีงานทำแลกกับการละเมิด


        ๒๒๘  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   228                                                                     7/28/08   9:21:35 PM
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233