Page 227 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 227
บทที่
๑๐
บทสรุป
และข้อเสนอแนะ
ากการศึกษาสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน ผ่านการดำเนินงานของ
จคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ในระหว่างปี ๒๕๔๕ ถึงปี ๒๕๕๐ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑. สถานการณ์ปัญหาและรูปแบบการละเมิด
จากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน พบการละเมิดสิทธิแรงงานในกลุ่มคนทำงานทุกภาคส่วน
ของสังคม กล่าวคือ
กลุ่มคนทำงานภาคเอกชน พบการละเมิดสิทธิสูงมากในมิติกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และ
การรวมตัวและการเจรจาต่อรอง โดยนายจ้างอาศัยกลยุทธ์การจ้างงานที่ยืดหยุ่น เช่น การจ้างงาน
ระยะสั้นและการจ้างเหมาค่าแรงในกระบวนการผลิตเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ระบบการจ้างงานดังกล่าว
ทำให้ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในกระบวนการผลิตเดียวกันได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่แตกต่างกันมาก เป็น
อุปสรรคในการใช้เสรีภาพในการรวมตัวและ
การเจรจาต่อรอง ไม่มีความมั่นคงในการ
ทำงาน สถานประกอบกิจการที่จ้างเหมาค่าแรง
งานมีอำนาจขอเปลี่ยนตัวคนทำงานได้ตลอด
เวลาโดยปราศจากเงื่อนไข
ลูกจ้างต้องถูกบังคับหรือตกอยู่ในภาวะ
จำยอมในการทำงานล่วงเวลาและในวันหยุด
ลูกจ้างมีครรภ์ไม่ได้รับการคุ้มครองดูแล คณะ
กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๒๗
Master 2 anu .indd 227 7/28/08 9:21:24 PM