Page 225 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 225
บทเรียนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
๘. กสม. ต้องส่งเสริมและพัฒนาการทำงานในระบบคณะอนุกรรมการฯ และความร่วมมือ
กับองค์กรเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ โดยเพิ่มบุคลากรของสำนักงาน กสม. เพื่อให้มีบทบาท
สนับสนุนการดำเนินงานให้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ผ่านการประชามติ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ และมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ เพิ่มอำนาจให้ กสม. ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญและ
ศาลปกครองได้โดยตรง และการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและสอดคล้อง
กับข้อเสนอภาคประชาชนและ กสม.ชุดแรกมาแต่ต้น กสม.จึงยิ่งต้องสร้างและพัฒนาระบบ
การทำงานร่วมกับคณะอนุกรรมการ ฯ และองค์กรเครือข่าย เพื่อเตรียมดำเนินการดังกล่าว เพราะจาก
การตรวจสอบของคณะอนุกรรมการฯ ที่ผ่านมา มีกฎหมาย กฎระเบียบ ที่ควรนำมาฟ้องต่อศาล
รัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือการฟ้องแทนผู้เสียหาย
๙. ปัญหาจากการลดทอนจุดแข็งที่มีบทบาทของภาคประชาสังคมหลายฝ่ายในกระบวน
การสรรหาและเลือก กสม. โดยมีการเปลี่ยนแปลงในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ จากรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
ที่จะเป็นสิ่งท้าทายต่อ กสม.และภาคประชาสังคมในอนาคต นั่นคือการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ
สรรหา ที่มาของวุฒิสมาชิก การลดจำนวน กสม. และจากความสับสนของสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อการ
เปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่กำหนดให้
กสม.เป็น “องค์กรอิสระ” แต่กลับกำหนดให้เป็น “องคกรอื่นตามรัฐธรรมนูญ” โดยไร้ซึ่งเหตุผล
โดยสรุปสาระสำคัญเปรียบเทียบได้ ดังนี้
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๒๕
Master 2 anu .indd 225 7/28/08 9:21:02 PM