Page 223 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 223
บทเรียนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
ในการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ ไม่มีสัดส่วนผู้แทนคนทำงานรวมทั้ง
สัดส่วนหญิงชายที่เหมาะสม บางฉบับไม่มีผู้หญิงเป็นกรรมาธิการเลย ในขณะที่คนทำงานกว่าครึ่ง
เป็นผู้หญิง จึงยิ่งเป็นปัญหาซ้ำซากในกระบวนการจัดทำกฎหมาย และถ้ายิ่งเร่งรัดให้การพิจารณา
เสร็จสิ้นโดยเร็วในสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ อาจมีบางฉบับที่มีผลกระทบมากกว่าการไม่แก้ไขก็เป็นได้
๖. รัฐบาลไม่ส่งเสริมและดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทแห่งชาติ
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการสำหรับหน่วยงานของรัฐและผ่านการ
ประชาพิจารณ์ทั่วประเทศมาแล้วอย่างกว้างขวาง โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ แต่ไม่มี
เจ้าภาพประสานงานและติดตามการดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าว แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติจะได้หารือและเสนอแนะมาอย่างต่อเนื่องก็ตาม ซึ่งอย่างน้อยก็มีทิศทางด้านแรงงาน ซึ่งถ้า
ดำเนินการอย่างจริงจังก็จะเกิดผลที่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
ดังนั้น สังคมจึงต้องผลักดันให้รัฐบาลต้องมีแผนปฏิบัติการแม่บทแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน
และมีหน่วยงานของรัฐรับผิดชอบกำกับดูแลชัดเจน เพื่อกำกับให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการแก้ไข
การละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสะสางกฎ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง
เพราะถ้ากลไกปกติของรัฐดำเนินการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ดีมากขึ้นเท่าใด กรณีร้องเรียนที่
กสม.ก็จะดำเนินการเฉพาะเรื่องที่ซับซ้อนและกลไกปกติของรัฐไม่อาจแก้ไขได้ รวมทั้งการ
ร่วมมือกันปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ต่างๆ ที่ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญและพันธกรณี
ระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๒๓
Master 2 anu .indd 223 7/28/08 9:20:47 PM