Page 222 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 222

๙
        บทที่






              	     ๕. การรณรงค์ให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ให้ครอบคลุมฐานคนทำงานที่กว้างขึ้น
              รวมถึงกฎหมายว่าด้วยองค์กรอิสระที่บริหารงานในลักษณะพหุภาคี ทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาและ
              คุ้มครองความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบครบวงจรไม่ประสบ
              ผลสำเร็จ  แม้จะมีความพยายามขององค์กรแรงงานในการจัดทำร่างกฎหมาย  และผลักดันผ่าน
              คณะกรรมาธิการการแรงงานทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  จนถึงคณะรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง
              รวมทั้งการร่วมมือกับคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน แต่ไม่มีการแก้ไขกฎหมายหรือมีกฎหมายใหม่เกิดขึ้น
                    ในช่วงร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ร่วมกับองค์กรเครือข่ายด้าน
              แรงงานต่างๆ จัดทำข้อเสนอมาตราเฉพาะว่าด้วยสิทธิคนทำงานในมาตรา ๔๔ หมวดสิทธิ เสรีภาพ
              ของประชาชนไว้โดยตรง ปรากฏว่า  ได้รับการตอบสนองบ้างแต่ไม่ครอบคลุมเพียงพอ และยังมีข้อ

              จำกัดที่ระบุว่า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” สรุปสาระสำคัญร่างข้อเสนอได้ ดังนี้

                    ร่างข้อเสนอ มาตรา ๔๔ โดย กสม.              มาตรา ๔๔ ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐

               ผู้ทำงานทุกคนต้องมีสิทธิเสมอกันในการได้รับ   บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความ
               ความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและเพียงพอจากรัฐ  ปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งมี
               ในด้านสัญญาจ้าง  ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม  หลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการ
               สวัสดิการและประกันสังคม  สุขภาพและความ ทำงานและเมื่อพ้นภาวะการทำงาน  ทั้งนี้ตามที่
               ปลอดภัย การรวมตัวและการเจรจาต่อรอง สิทธิ กฎหมายบัญญัติ
               การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการประกอบการ
               ที่มีผลกระทบต่อผู้ทำงาน
                 ผู้ทำงานทุกคนต้องได้รับหลักประกันความ
               มั่นคงในการทำงาน ไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น
               ธรรมและไม่ถูกบังคับใช้แรงงานหรือเกณฑ์แรงงาน
                 ให้มีองค์กรอิสระที่บริหารงานในลักษณะ
               พหุภาคีทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาคุ้มครองความ
               ปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ
               ทำงานแบบครบวงจร


                    มีความพยายามของรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ  (คมช.)
              ในการเสนอแก้ไขกฎหมายด้านแรงงาน จำนวน ๗ ฉบับ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ
              แห่งชาติ ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่หลายฉบับ
                    แต่โดยสรุปแล้ว  ยังเป็นการเสนอการแก้ไขกฎหมายที่ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของ
              ประชาชน และไม่นำร่างกฎหมายหลายฉบับที่กลุ่มสหภาพแรงงานร่วมกับหลายฝ่ายได้ร่างขึ้นหรือมี

              ข้อเสนอไว้ชัดเจนมาเป็นต้นร่างหลัก กลุ่มคนงานไปร่างกันมาอย่างเอาจริงเอาจังแต่สุดท้ายเหมือนเดิม
              คือ ใช้ร่างรัฐบาลเป็นหลัก (ดูรายละเอียดและข้อวิจารณ์ในสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
              แห่งชาติ, นโยบายการพัฒนากฎหมายแรงงาน จัดทำโดย คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน, ๒๕๕๐)


              * ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับเจตนารมณ์ประชาชน, ข้อเสนอจาก กสม. ต่อร่างรัฐธรรมนูญ, จัดพิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิ
              มนุษยชนแห่งชาติ ๒๕๕๐

        ๒๒๒  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   222                                                                     7/28/08   9:20:38 PM
   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227