Page 220 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 220

๙
        บทที่






                    กรณีที่มีข้อเสนอแนะถึงคณะรัฐมนตรี พบว่าส่วนใหญ่เพียงแต่รับทราบ สำนักเลขาธิการนายก
              รัฐมนตรีเพียงแต่ทำหน้าที่งานธุรการโดยการแจ้งรับทราบ และส่งกลับมาที่กระทรวงแรงงานเช่นเดิม
                    กสม.ไม่มีอำนาจสั่งการ ถูกกำหนดให้มีการประสานกับอำนาจทางบริหารของคณะรัฐมนตรี
              และรัฐสภา  ซึ่งที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นว่า  เป็นช่องทางที่ไม่มีประสิทธิภาพ  ถ้าพรรคการเมืองและ
              รัฐบาลมิได้มีนโยบายที่ชัดเจนและตระหนักจริงจังถึงสิทธิแรงงานและเสรีภาพในการรวมตัวต่อรอง
              รวมทั้งเคารพต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอย่างจริงจัง
                    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มีข้อจำกัดมิให้ กสม.มีอำนาจที่จะเสนอเรื่อง
              ให้ยึดโยงกับอำนาจของศาลต่างๆ ได้ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม (และศาล
              แรงงาน) ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเยียวยาเฉพาะหน้า การยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ แม้กระทั่ง

              กฎหมายบางมาตราที่ละเมิดสิทธิแรงงานอย่างชัดเจน เพื่อไม่ต้องแก้ไขกรณีการละเมิดที่ซ้ำซาก แม้ว่า
              คณะอนุกรรมการฯ จะร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายทั้งแรงงาน นักวิชาการ องค์กรระหว่างประเทศ และ
              ภาครัฐ รณรงค์เรื่องกฎหมาย และนโยบายในประเด็นต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
                    คณะอนุกรรมการฯ และกสม. เองก็ยังมีข้อจำกัด ต่อการดำเนินการติดตามผลการแก้ไขจาก
              นายกรัฐมนตรี  และรัฐสภา  อย่างจริงจังและอย่างต่อเนื่อง  เมื่อพบว่าการแก้ไขไม่ค่อยประสบผล
              คณะอนุกรรมการฯ จึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการไกล่เกลี่ยและการตรวจสอบ รวมทั้งพยายามประชุม
              หารือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเท่าที่ทำได้ เพื่อสร้างความตระหนัก ให้รับทราบปัญหา หาทางแก้ไขเยียวยา

              และรณรงค์ให้สังคมรับทราบ เพื่อการมีส่วนร่วมในเชิงกฎหมายและนโยบายต่อไป
                    ผู้ร้องเรียนทั้งรายบุคคลและสหภาพแรงงานหลายกรณี  จึงมีคำถามต่อคณะอนุกรรมการฯ
              ทั้งวาจาและลายลักษณ์อักษรว่า เมื่อมีรายงานผลการตรวจสอบโดย กสม.ที่ชัดเจนว่ามีการละเมิด
              สิทธิมนุษยชน หรือการกระทำที่ไม่เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างและ สหภาพแรงงาน แต่...จะทำ
              อย่างไรต่อไป ?
                    ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานที่มีความพร้อม  ก็อาจนำรายงานผลการตรวจสอบไปประกอบ
              ในการต่อสู้คดี  หรือนำไปเผยแพร่หรือรณรงค์ต่อองค์กรหรือสหภาพแรงงานในทางสากลต่อไป
              เพื่อกดดันต่อนายจ้าง ซึ่งก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยคลี่คลายแก้ไขปัญหาได้บ้างบางกรณี แต่ต้องอาศัย
              ความพร้อมอย่างมากของลูกจ้างและองค์กรพันธมิตร


                    บทเรียนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในภาพรวม

              	     ๑. สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานนับวันทวีจำนวนและความรุนแรง
              เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากนโยบายและการดำเนินการของภาครัฐ
                    ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐเน้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและ
              ตัวเลขการส่งออก ตัวเลขการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ ในหลักการแรงงานราคาถูกเพื่อส่งเสริม

              การลงทุน  นโยบายของรัฐจึงไม่ให้ความสำคัญต่อระบบการคุ้มครองแรงงาน  และสิทธิของ
              สหภาพแรงงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างระบบสวัสดิการสังคมแก่คนทำงานทุกคนทั้งเอกชน
              และภาครัฐ  ทั้งในสถานประกอบการและคนทำงานนอกระบบจำนวนมาก  ปัญหานี้วิจารณ์กันมา


        ๒๒๐  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   220                                                                     7/28/08   9:20:36 PM
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225