Page 221 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 221

บทเรียนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                                                 และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)






              หนักหน่วงและยาวนานนับแต่เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่  ๑  ประกอบกับการเปลี่ยนแปลง
              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานบ่อยที่สุดในบรรดากระทรวงต่างๆ จนถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ไม่มี
              ประสบการณ์ด้านปัญหาแรงงาน  จึงมีผลให้การผลักดันจากสหภาพแรงงาน  นักวิชาการ  รวมทั้ง
              คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ที่ได้เข้าพบปรึกษาหารือเชิงนโยบายกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
              แรงงานทุกคน ไม่สามารถมีนโยบาย การตัดสินใจ และความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
                    ความเดือดร้อนของ  “คนทำงาน”  แท้จริงจึงไม่ใช่เพียงการเรียกร้องต่อรองกับนายจ้าง
              แต่เป็นการต่อสู้เพื่อผลักดันทิศทางการเมือง กฎหมาย และนโยบายของรัฐบาล โครงสร้างการพัฒนา
              ทั้งระบบ และเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นแต่การเติบโตของกลุ่มทุนเป็นหลัก


              	     ๒. ต้องสร้างความตระหนักร่วมกันต่อทุกฝ่ายในสังคม ทั้งนายจ้างและภาครัฐ ว่าçสิทธิ
              แรงงาน คือ “สิทธิมนุษยชน” ซึ่งมีความลึกซึ้งและกว้างไกลกว่ากฎหมายและกฎระเบียบที่บังคับใช้
              อยู่ แต่มีพื้นฐานจากรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีข้อผูกพัน
              กับสากล ในเจตนารมณ์แห่งการส่งเสริมและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ การไม่ถูก
              เลือกปฏิบัติ และความเสมอภาค รวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสิทธิในการ
              พัฒนาซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาสังคมที่แท้จริง


              	     ๓. ฐานการคุ้มครองคนทำงานตามกฎหมายด้านแรงงานยังแคบมาก โดยทั่วไปจะเน้นอยู่
              ที่คนทำงานภาคเอกชนในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ไม่ครอบคลุมลูกจ้างภาครัฐ แรงงาน
              นอกระบบ แรงงานภาคเกษตร และคนทำงานอิสระรายย่อย ดังนั้นปัญหาไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย
              แต่ละฉบับ แต่ควรมีกฎหมายด้านแรงงานกรอบใหญ่ที่ครอบคลุมคนทำงานทั้งหมดได้ และเป็นฐาน
              ของสวัสดิการสังคม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลเองเป็นนายจ้างéรายใหญ่ที่ละเมิดต่อลูกจ้าง
              ของภาครัฐจำนวนมหาศาล โดยยกเว้นลูกจ้างภาครัฐไม่ให้ได้รับสวัสดิการแบบข้าราชการ แต่ขณะ
              เดียวกัน  ก็กีดกันไม่ให้คนทำงานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน  โดยระบุว่ากฎหมาย
              แรงงานทุกฉบับยกเว้นกลุ่มลูกจ้างภาครัฐเหล่านี้ ทำให้คนทำงานภาครัฐหลายแสนคนอยู่ในสถานะ
              ที่ถูกเอาเปรียบด้านค่าจ้างและสวัสดิการ ความมั่นคงในการทำงาน และขาดเสรีภาพในการรวมตัว

              ต่อรองหนักหน่วงยิ่งกว่าลูกจ้างภาคเอกชนทั่วไป

              	     ๔. การมีทัศนคติเชิงลบ และความไม่ตระหนักต่อบทบาทที่จำเป็นของสหภาพแรงงาน
              และเสรีภาพในการรวมตัวต่อรอง ทั้งที่การมีสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานที่เข้มแข็งเป็นหัวใจ
              สำคัญที่สุด และเป็นคำตอบที่จะแก้ไขปัญหาการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานได้อย่างแท้จริง
              เมื่อประกอบกับกฎหมายยังไม่คุ้มครองผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงาน และไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
              ต่อการคุ้มครองป้องกันการคุกคามกลั่นแกล้งด้วยวิธีการต่าง  ๆ  เพื่อกดดันให้แกนนำและสมาชิก

              สหภาพแรงงานลาออกไปเอง จึงทำให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิสหภาพแรงงานหนักหน่วงทวีขึ้น
              และเป็นสภาพการณ์ที่น่ากังวลที่สุด



                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๒๑





     Master 2 anu .indd   221                                                                     7/28/08   9:20:37 PM
   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226