Page 218 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 218
๙
บทที่
แต่ในความเป็นจริง เจ้าหน้าที่รัฐมักจะรับฟังข้อเท็จจริงจากนายจ้างฝ่ายเดียว และใช้ข้ออ้าง
เพื่อความมั่นคงของประเทศส่งกลับทันที ทั้ง ๆ ที่ หลายกรณีแรงงานข้ามชาติเหล่านั้นจดทะเบียน
และข้ามเขตจังหวัดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น กรณีแรงงานข้ามชาติที่ทำงานกับบริษัท ทออวน
เดชา พานิช ที่จังหวัดขอนแก่น
๕) กฎหมายและระเบียบจำนวนมากยังล้าหลัง ไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิแรงงานและเสรีภาพในการรวมตัวต่อรอง
ที่ผ่านมา กสม.ปรึกษาหารือกับหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่ระดับอธิบดีจนถึงระดับรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงาน ในกรณีกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องหรือขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
หรือกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี
แต่แทบไม่มีการแก้ไขใดๆ เช่น นายจ้างออกประกาศห้ามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสหภาพแรงงานใน
สถานประกอบการ ห้ามจัดกลุ่มศึกษาหรือจัดกิจกรรมในหอพัก เป็นต้น แม้กฎระเบียบบางเรื่อง
จะสามารถแก้ไขปรับปรุงได้โดยอำนาจของคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการกองทุน
เงินทดแทน กรมการจัดหางาน หรือระดับกระทรวง แต่ก็ไม่มีการดำเนินการ
๖) อุปสรรคสำคัญจากอำนาจหน้าที่ของ กสม. ในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ คือ
มาตรการแก้ไขปัญหาต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและ
กฎหมายต่อรัฐบาล ส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อการสั่งการแก้ไขจากหน่วยงานของรัฐ* เพียงแต่ต้อง
ยอมรับว่ากระทรวงแรงงานให้ความร่วมมือในการตอบชี้แจงตามรายงานผลฯ โดย กสม. จำนวนไม่น้อย
บางกรณีที่มีการแก้ไขบ้างแต่ยังไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงประเด็นตามที่เสนอแนะ กระทรวงแรงงาน
มักจะชี้แจงว่าทำไม่ได้เพราะอะไร หรือกำลังมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่ หรือส่งเรื่องให้หน่วยงาน
ที่รับผิดชอบโดยตรงพิจารณา มักจะไม่ได้รับคำตอบที่มีการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ทั้งมาตรการแก้ไข
เฉพาะหน้า การปรับปรุงกฎระเบียบที่สามารถแก้ไขได้โดยเร็ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการปรับปรุงแก้ไข
กฎหมาย ทั้งๆ ที่มีการร่างโดยขบวนผู้ใช้แรงงาน และมีการจัดสัมมนา การรับฟังความคิดเห็น
ต่อร่างกฎหมายต่างๆ ทั้งโดยกระทรวงแรงงาน องค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งคณะอนุกรรมการสิทธิ
แรงงาน มาอย่างต่อเนื่องหลายปีมานี้ รวมถึงข้อเสนอให้รับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศเพิ่มเติม เช่น อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการรวมตัวต่อรอง
ให้กว้างขวางขึ้น
เรื่องสำคัญที่ควรแก้ไขแต่กลับไม่มีการดำเนินการใดๆ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา
ไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหาแรงงานอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนคนทำงานภาคเอกชน คนทำงานภาครัฐ
แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศตลอดจนแรงงานข้ามชาติ
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดเรื่องหนึ่งในปัญหาเชิงนโยบายและกลไกที่ไม่มีประสิทธิภาพของระบบ
ราชการ คือคณะอนุกรรมการฯ เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหลายคน จนกระทั่งมีคำสั่ง
* ดูภาคผนวก ๒-กรณีตัวอย่างจากคำตอบรับตามมาตรการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากรายงานผลการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดย กสม.
๒๑๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 218 7/28/08 9:20:23 PM