Page 217 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 217

บทเรียนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                                                 และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)






                    มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปมีส่วนในการละเมิดสิทธิแรงงาน  เช่น  ตรวจปัสสาวะ
              แกนนำลูกจ้าง อ้างว่าเพื่อหาสารเสพติด ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทเอกชน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็น
              ที่ปรึกษา แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจสอบในกรณีใดๆ ก็ต้องได้รับความยินยอมก่อน แต่ในภาวะ
              จำยอมของลูกจ้างจึงจำยอมให้ตรวจ เมื่อไม่พบสารเสพติดก็หาเหตุดำเนินคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์
              นายจ้าง รวมทั้งการจะใช้เครื่องจับเท็จหากลูกจ้างไม่ยอมรับผิด หรือมีการค้นตัวพนักงานหญิง
              อย่างไม่เหมาะสมจนละเมิดต่อสิทธิในร่างกายและเกียรติยศชื่อเสียง ทั้งๆ ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจรับรู้
              ในเหตุการณ์  การเป็นนายจ้างจึงมิใช่ว่าจะมีอำนาจเหนือลูกจ้างทุกกรณี  ดังนั้น  ความเข้าใจ
              ของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อสิทธิแรงงานและมูลเหตุแห่งความขัดแย้งด้านแรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
              เพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิสหภาพแรงงาน

                    มีกรณีร้องเรียนที่จังหวัดระยอง ปรากฏว่า  ระหว่างการเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงาน
              กับนายจ้าง  มีการนำทหารเรือเข้าไปในโรงงาน  ในลักษณะกดดัน  หรือข่มขู่การใช้สิทธิของ
              สหภาพแรงงาน  ซึ่งสหภาพแรงงานได้บันทึกภาพไว้  เมื่อคณะอนุกรรมการฯ  ตรวจสอบร่วมกับ
              ผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ของกองทัพเรือในการประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ปรากฏว่าเป็นทหารเรือ
              จริงมิใช่แอบอ้างใส่เครื่องแบบ เนื่องจากบริษัทรักษาความปลอดภัยของนายจ้างดำเนินการโดยทหาร
              เรือคนหนึ่ง
                    ในกรณีแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ที่มีการเรียกร้องขอความเป็นธรรมและถูกนายจ้างเลิกจ้าง

              ทำให้กลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย จะถูกดำเนินคดีและส่งกลับประเทศ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัด
              หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด  รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเข้าใจ
              สถานการณ์  และมูลเหตุการย้ายถิ่นมาหางานทำ  เช่นที่คนไทยก็ไปทำงานต่างประเทศโดยผิด
              กฎหมายมาช้านานแล้วเช่นกัน และพยายามช่วยเยียวยาแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรม เช่น การช่วยเหลือ
              ให้เปลี่ยนงานหานายจ้างใหม่ตามระเบียบที่มีอยู่ และติดตามเงินค่าจ้างที่ตกค้างหรือสิทธิที่ถูกละเมิด
              แทนที่จะใช้วิธีการส่งกลับพม่าทันที






























                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๑๗





     Master 2 anu .indd   217                                                                     7/28/08   9:20:22 PM
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222