Page 215 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 215
บทเรียนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
แต่ในความเป็นจริง ยังมีปัญหาที่น่าสะเทือนใจ เช่น การกดดันให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาออก
หรือเลิกจ้างโดยอ้างสาเหตุขาดทุน คำสั่งซื้อลดลง เป็นต้น แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็ตีความว่าไม่ผิด
กฎหมาย เพราะเลิกจ้างจากสาเหตุอื่นมิใช่สาเหตุจากการมีครรภ์ (ในความเป็นจริงไม่เคยมีนายจ้างคนใด
อ้างสาเหตุการตั้งครรภ์) ทำให้ลูกจ้างต้องมีภาระในการพิสูจน์สาเหตุแท้จริงของการเลิกจ้าง เป็นเรื่อง
ที่ยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่าย และใช้เวลายาวนานมาก ขณะที่พวกเธอไม่มีเงินทุนและกำลังจะคลอดบุตร
ทำให้ลูกจ้างหญิงจำนวนมากไม่ต่อสู้ แต่ยอมลาออกแล้วค่อยมาทำงานใหม่หลังคลอด นั่นคือการ
เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ในการทำงาน และยังมีบางกรณีที่สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดีนำไป
สู่การแท้งบุตร หรือการเจ็บป่วยทางสมอง
เรื่องร้องเรียนกลุ่มนี้คือตัวชี้วัดและเป็นบทเรียนที่ชัดเจนว่า ถ้าลูกจ้างไม่มีการรวมกลุ่ม
ไม่มีสหภาพแรงงานที่จะพิทักษ์ปกปองค่าจ้างและสวัสดิการขั้นพื้นฐานของตนเอง โอกาสที่เจ้า
หน้าที่กระทรวงแรงงานจะบังคับใช้กฎหมายแรงงานให้มีผลอย่างจริงจังและทั่วถึงเป็นไปได้ยากมาก
๓) ข้อจำกัดของพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๙๙ และ ๒๐๐ มิได้
บัญญัติเรื่องอำนาจการตรวจสอบของ กสม. ที่เกี่ยวเนื่องกับการฟ้องคดีต่อศาล แต่พระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ มีบทบัญญัติในมาตรา ๒๒ บัญญัติว่า
“ในกรณีที่มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมิใช่
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๑๕
Master 2 anu .indd 215 7/28/08 9:20:16 PM