Page 214 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 214
๙
บทที่
๒) กระบวนการตรวจสอบการคุ้มครองแรงงานจะเข้มแข็ง ต้องให้ภาคประชาชนและ
สหภาพแรงงานต้องมีส่วนร่วม
คณะอนุกรรมการฯ พบว่า จากเรื่องร้องเรียนในกลุ่มคนทำงานภาคเอกชน จำนวน ๑๕๗ เรื่อง
จำแนกเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานสูงถึง ๗๐ เรื่อง ทั้งที่ยุคปัจจุบันน่าจะผ่าน
พ้นยุคแรงงานทาส หรือการถูกเอาเปรียบแม้แต่ขั้นต่ำของกฎหมายได้แล้ว
ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนเปิดเผยตัว หรือเป็นการร้องเรียนของสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน หรือ
องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน การตรวจสอบ การไกล่เกลี่ยหรือการประสานกับกรมสวัสดิการและ
คุ้มครองแรงงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เมื่อปรากฏความผิดตามกฎหมายที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ของรัฐ
มีอำนาจสั่งการให้แก้ไขได้ทันที
แต่มีกรณีร้องเรียนจำนวนมากที่มาจากลูกจ้างราย
บุคคลหรือกลุ่มเล็กๆที่ไม่กล้าเปิดเผยตัว อาจขอปกปิดชื่อ
หรือเป็นจดหมายไม่มีชื่อผู้ร้องเลย เพราะกลัวถูกเลิกจ้าง
หรือมาร้องเรียนหลังออกจากงานแล้ว ทั้งจากลูกจ้าง
ภาคเอกชน และลูกจ้างในภาครัฐ ทำให้การตรวจสอบมี
ข้อจำกัดหรืออุปสรรคมาก เพราะนายจ้างสามารถปฏิเสธ
ได้โดยง่าย หรือโดยสภาพไม่อาจไกล่เกลี่ยได้ในหลายกรณี
คณะอนุกรรมการฯ ไม่สามารถแม้กระทั่งส่งเรื่องให้กรม
สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเข้าไปตรวจสอบเพราะจะ
เป็นการเปิดเผยตัวผู้ร้องเรียนทันที ขณะที่ผู้ร้องไม่ประสงค์เช่นนั้น เช่น กรณีลูกจ้างบริษัทรักษา
ความปลอดภัย ร้านค้าขนาดเล็ก แรงงานข้ามชาติ หรือลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานภาครัฐ
คณะอนุกรรมการฯ อาจแก้ไขปัญหาได้บ้างในบางราย ด้วยการส่งเรื่องต่อกรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงานให้เข้าไปตรวจสอบ และให้รายงานผลให้ทราบ เช่นกรณีไม่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตาม
กฎหมาย แต่บางแห่งก็อาจไม่พบปัญหาอะไร เพราะเจ้าหน้าที่เน้นการตรวจสอบเอกสาร ซึ่งไม่น่าจะมี
นายจ้างคนใดทำเอกสารที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้อาจตรวจสอบไม่ได้ครบถ้วนเพราะลูกจ้างมีหลาย
แผนก ปัญหามีความซับซ้อนและมีรายละเอียด หรือล่วงเลยเวลามานานแล้ว เช่น ค่าจ้างค้างชำระ
ค่าล่วงเวลา ความไม่ปลอดภัยในการทำงาน หรือการเลิกจ้างลูกจ้างหญิงมีครรภ์ หรือจัดสภาพ
แวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสมกับแรงงานหญิงมีครรภ์ หรือการไม่นำเงินที่หักจากค่าจ้างส่งให้
กองทุนประกันสังคมทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิ
ภาวะที่สะท้อนความล้มเหลวของการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมาย
ประกันสังคม แสดงถึงความอ่อนแออย่างชัดเจนในเชิงนโยบายของรัฐต่อสวัสดิการสังคม
โดยเฉพาะเรื่องแม่และเด็ก ทั้ง ๆ ที่สังคมไทยเชิดชู “วันแม่” และมีการรณรงค์ต่อเนื่องจาก
การให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ กรณีการเลิกจ้างลูกจ้างหญิงมีครรภ์และการจัดสภาพแวดล้อม
ในการทำงานที่เหมาะสม น่าจะเป็นเรื่องที่แก้ไขได้โดยง่าย เพราะกฎหมายก็คุ้มครองอย่างชัดเจนว่า
“ห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุแห่งการมีครรภ์”
๒๑๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 214 7/28/08 9:20:06 PM