Page 213 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 213

บทเรียนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                                                 และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)































              	     ๕.๑	ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับทัศนคติของศาลในการไกล่เกลี่ย
              	     การมีเจตนาที่ดีเพื่อมิให้ลูกจ้างเสียเวลาและค่าใช้จ่าย  ด้วยการแนะนำในการไกล่เกลี่ย
              ว่าได้ค่าชดเชยบ้างดีกว่าต่อสู้ไปนาน  ๆ  แล้วอาจจะไม่ได้รับเงินเลย  หรือได้ไม่คุ้มค่ากับการต่อสู้

              ที่ยาวนาน กระทั่งมีการทำบันทึกที่ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยหรือสิทธิประโยชน์น้อยกว่ากฎหมายกำหนด
              หรือมีการร้องเรียนว่ามีการใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมต่อลูกจ้าง  เช่น  กรณีลูกจ้างบริษัท  เพ็ญรุ่ง
              บาสฟิตติ้งส์ จำกัด บริษัท เอ็ม เอ็ม ไอ พรีซิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัดและบริษัท นากาชิมา รับเบอร์
              (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น
              	     ๕.๒ กรณีตัวอย่างการไกล่เกลี่ยและการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลมีเงื่อนไข
              ให้ลูกจ้างต้องถอนเรื่องร้องเรียนจาก กสม.
              	     กรณีสหภาพแรงงานทรงชัยปันทอ เมื่อคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ๒ ได้ตรวจสอบ
              เรื่องร้องเรียน  และพบว่านายจ้างมีเจตนาจะทำลายสหภาพแรงงาน  และกำลังจัดทำรายงานผล
              การตรวจสอบ ทำให้นายจ้างเร่งรัดเจรจากับลูกจ้างโดยเสนอยอดเงินจำนวนมากให้ แต่ลูกจ้างต้อง

              ลาออก ด้วยความกังวลที่ตกงาน ขาดรายได้และการดำเนินคดีที่ต้องใช้เวลายาวนาน ในที่สุดจึงจำ
              ยอมลาออก  แต่บันทึกสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลระบุให้แกนนำสหภาพแรงงาน
              ต้องมาถอนเรื่องร้องเรียนจาก กสม.ก่อน นายจ้างจึงจะจ่ายเงินให้
                    คณะอนุกรรมการฯ เข้าใจภาวะที่ไม่มีทางเลือกของแกนนำสหภาพแรงงาน จึงแจ้งว่าเป็นสิทธิ
              ของลูกจ้างที่จะถอนเรื่องร้องเรียนได้  อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการ  ฯ  ยังมีอำนาจในการจัดทำ
              รายงานผลการตรวจสอบ  เพราะตามคำร้องนี้เป็นเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสหภาพแรงงาน
              อันเป็นประโยชน์ของส่วนรวมและไม่เกี่ยวกับประเด็นการพิจารณาคดีของศาล คณะอนุกรรมการ ฯ

              ได้มีคำวินิจฉัยว่า นายจ้างละเมิดสิทธิสหภาพแรงงาน
                    ต่อมาไม่นานกรรมการสหภาพแรงงานชุดใหม่ก็ได้ร้องเรียนว่า  นายจ้างรายนี้ได้ละเมิดสิทธิ
              สหภาพแรงงานอีก



                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๑๓





     Master 2 anu .indd   213                                                                     7/28/08   9:20:04 PM
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218