Page 212 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 212
๙
บทที่
(๕ ) ปัญหาจากการไกล่เกลี่ยและการต่อสู้คดีในศาล
ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน เจ้าหน้าที่
สำนักงานประกันสังคม หรือแม้แต่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ใน
เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับ
เข้าทำงานก็ตาม แต่นายจ้างสามารถฟ้องศาลให้ยกเลิกคำสั่ง
ดังกล่าวได้ทั้งสิ้น นั่นหมายความถึงการต่อสู้ที่ยืดเยื้อ และไม่รู้ว่าใน
ที่สุดผลคดีจะเป็นอย่างไร ลูกจ้างจะได้รับเงินครบถ้วนหรือเป็นธรรม
หรือไม่ ยิ่งถ้าเป็นกรณีแรงงานข้ามชาติที่มีปัญหากฎระเบียบที่ยังไม่
คุ้มครองให้ใช้สิทธิต่อสู้คดีให้เสร็จสิ้นก่อนในประเทศไทย โดยจะต้อง
ถูกส่งกลับประเทศต้นทางไปก่อน นอกจากนี้นายจ้างยังใช้สิทธิทาง
ศาลจำนวนมากที่ทำให้ลูกจ้างต้องมีภาระในการต่อสู้คดี เช่น การฟองคดีแกนนำด้วยคดีแพ่ง
คดีอาญา ต่างๆ เพื่อหาเหตุเลิกจ้างไปก่อน ทำให้กดดันต่อลูกจ้างให้ยอมลาออกเพื่อจะยกเลิก
การฟองคดี รวมทั้งมีการร้องต่อศาลขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานจึงมีปัญหาตลอดกระบวนการ นับแต่ถูกเลิกจ้าง
ไม่มีงานทำ ขาดรายได้ มีภาระค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ไม่สามารถว่าจ้างทนายความที่ดีและเข้าใจ
ปัญหาแรงงาน คดีกินเวลายาวนาน รวมทั้งการถูกดำเนินคดีอาญาที่มีปัญหาการใช้ดุลพินิจของ
พนักงานสอบสวน ในเรื่องการปล่อยตัวชั่วคราว มีภาระในการประกันตัว หรือการฟ้องคดีให้ผู้นำ
สหภาพแรงงานชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมาก อุปสรรคเหล่านี้ทำให้ลูกจ้างจำยอมรับเงินและออกจากงานไป
มีการร้องเรียนของลูกจ้างและสหภาพแรงงานจำนวนไม่น้อยต่อคณะอนุกรรมการฯ อ้างว่า
ถูกกดดันระหว่างการดำเนินคดีในศาล หรือมีการไกล่เกลี่ยที่ทำให้ลูกจ้างรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
ไม่มีศักดิ์ศรี หรือเกิดความรู้สึกที่เป็นลบต่อกระบวนการยุติธรรม มีความหวั่นวิตกในการใช้สิทธิ
ซึ่งคณะอนุกรรมการ ฯ ได้เชิญอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมาร่วมรับฟังจากลูกจ้างและประชุม
ปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาหลายครั้ง
๒๑๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 212 7/28/08 9:19:58 PM