Page 210 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 210
๙
บทที่
(๒) นายจ้าง หน่วยงานของรัฐ หรือแม้แต่การไกล่เกลี่ยในศาล ล้วนมีแนวคิดพื้นฐานว่า
เมื่อเกิดข้อขัดแย้งระหว่างแกนนำลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานกับนายจ้าง ทางแก้คือการ
ไกล่เกลี่ยให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย หรือให้ชดใช้ค่าเสียหาย แทนการกลับเข้าทำงาน
เนื่องจากคิดว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะทำให้ไม่สามารถทำงานด้วยกันได้อีกต่อไป หรือทำไปไม่
ได้ดีเช่นเดิม ทั้งที่ลูกจ้างต้องการให้รับกลับเข้าทำงาน จึงทำให้อำนาจต่อรองของลูกจ้างกลับลดลง
เห็นได้ว่า กลไกในการไกล่เกลี่ยของรัฐหลายกรณีไม่ช่วยประสานและเปลี่ยนแปลงท่าทีของฝ่าย
นายจ้าง เพื่อคุ้มครองลูกจ้างให้มีความมั่นคงในการทำงาน
(๓) การปกปองสิทธิคนทำงานทั้งรายบุคคล หรือองค์กรสหภาพแรงงาน มีขั้นตอนและ
ระยะเวลาที่จำกัดตามกฎหมายและจะต้องไปสิ้นสุดที่ศาล ทำให้คณะอนุกรรมการฯไม่สามารถ
ตรวจสอบและไกล่เกลี่ยได้ทันเวลา ทั้งนายจ้าง
และหน่วยงานรัฐมักจะผลักกระบวนการแก้ไข
ปัญหาให้ไปที่ศาล เพราะเป็นเวทีที่ลูกจ้าง
เสียเปรียบมากกว่า ในส่วนของเจ้าหน้าที่นั้น มีทั้ง
ด้วยเจตนาดีเพราะกระบวนการตามกฎหมาย
จะต้องไปสิ้นสุดที่ศาล บางส่วนก็เป็นการลดภาระ
ของตนเอง แทนที่จะต้องพยายามลงแรงในการ
ช่วยไกล่เกลี่ย และบางส่วนไม่ต้องการจะเผชิญ
หน้ากับนายจ้างในพื้นที่
๒๑๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 210 7/28/08 9:19:50 PM