Page 211 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 211

บทเรียนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                                                 และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)






                    เมื่อมีการฟ้องคดี คณะอนุกรรมการฯ ก็ต้องยุติการตรวจสอบในประเด็นเดียวกันกับประเด็น
              การพิจารณาของศาล โดยเฉพาะปัญหาการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมต่อแกนนำสหภาพแรงงาน หรือ
              ผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงาน ขณะที่กระบวนการทางศาลใช้เวลาหลายปีและมีค่าใช้จ่ายสูง ลูกจ้างที่
              ถูกเลิกจ้างจะเดือดร้อนที่ไม่มีงานทำด้วย ในที่สุดแกนนำจำนวนไม่น้อยก็จำต้องยอมรับเงินแล้วลา
              ออกไป ไม่สามารถดำเนินงานของสหภาพแรงงานและพิทักษ์สิทธิของลูกจ้างได้
              	     (๔) การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิแรงงาน ที่ถูกตีความว่าไม่ผิดกฎหมาย
              โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีนายจ้างต้องดำเนินการให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แต่ในทางปฏิบัติจะไม่ยอม
              ให้เข้าไปทำงานและไม่ยอมให้เข้าไปในโรงงาน โดยจ่ายค่าจ้างให้ นับเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดของการ
              ไกล่เกลี่ยในกรอบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

              	     เช่น กรณีสหภาพแรงงานจีน่าสัมพันธ์ เมื่อแกนนำสหภาพฯถูกเลิกจ้าง ต่อมามีการเจรจา
              เป็นที่ยุติ ให้รับกลับเข้าทำงาน แต่นายจ้างไม่ยอมให้กลับเข้าทำงานจริง โดยจ่ายเงินเดือนผ่าน
              บัญชีธนาคารและห้ามลูกจ้างเข้าไปในโรงงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐตีความว่าไม่ผิดกฎหมาย
                    กสม. ได้จัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและวินิจฉัยว่าเป็นการละเมิด
              ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิสหภาพแรงงาน  เพราะแรงงานคือผู้ที่ต้องการทำงาน  มิใช่แบมือ
              ขอรับเงินค่าจ้างโดยไม่ทำงาน ต้องการความก้าวหน้าในการทำงานบนศักยภาพของตนเอง มิใช่รับ
              เพียงค่าจ้างขั้นต่ำประทังไป ขณะเดียวกันก็เป็นการละเมิดสิทธิสหภาพแรงงานอย่างรุนแรง เพราะถ้า

              แกนนำสหภาพแรงงานไม่สามารถประสานงานและจัดกิจกรรมกับสมาชิกสหภาพแรงงานได้ ก็เท่ากับ
              ทำลายสหภาพแรงงานนั่นเอง เป็นการกดดันให้แกนนำสหภาพแรงงานต้องลาออกไปเองในที่สุด
                    สหภาพแรงงานจิน่าสัมพันธ์ได้ไปเคลื่อนไหวกับขบวนการแรงงานต่างประเทศ และเผยแพร่
              รายงานผลการตรวจสอบของ กสม. ทำให้ในที่สุดนายจ้างยินยอมให้กลับเข้าทำงาน การต่อสู้ยืนหยัด
              เพื่อรักษาบทบาทและสิทธิของสหภาพแรงงานจิน่าสัมพันธ์ช่วยให้ลูกจ้างทั้งหมดสามารถรักษาสิทธิ
              ประโยชน์ของตนเองได้อย่างดีเมื่อบริษัทปิดกิจการในอีกหลายปีต่อมา เป็นตัวอย่างที่ดีของการเฝ้า
              ระวังและการเจรจาต่อรอง ร่วมกับการติดตามจากคณะอนุกรรมการ ฯ ทำให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
              แรงงานต้องสั่งการห้ามนายจ้างขนย้ายเครื่องจักรและทรัพย์สินชั่วคราวก่อนที่ปิดกิจการ  ซึ่งมี
              นายจ้างหลายรายขนย้ายเครื่องจักรและทรัพย์สินแล้วปิดกิจการในเวลาต่อมา  โดยไม่มีทรัพย์สิน

              เพื่อชำระให้ลูกจ้างตามกฎหมาย
              	     กรณีบริษัท ไทยซัมมิท อีสเทิร์นซีบอร์ดโอโต้พาร์ท อินดัสตรี จำกัด ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง
              เมื่อมีข้อพิพาทแรงงาน ต่อมาตกลงกันได้มีการเปิดงานตามปกติ แต่กลับไม่ยอมให้ลูกจ้างที่ถูกปิดงาน
              กลับเข้าทำงาน กลับจัดโครงการอบรมนอกสถานที่เป็นเวลาหลายเดือน เพื่อกดดันสมาชิกและแกนนำ
              สหภาพแรงงาน  โครงการดังกล่าวนี้  กลับได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยการใช้ห้อง
              ประชุมที่ว่าการอำเภอ ในที่สุดเมื่อถูกตรวจสอบจากคณะอนุกรรมการ ฯ อย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ก็นำ
              สมาชิกและแกนนำสหภาพฯ  กลุ่มนี้ไปทำงาน  ณ  สถานที่อื่น  โดยไม่อนุญาตให้ลูกจ้างเข้าไปใน

              โรงงาน ประกอบกับมีโครงการเสนอจ่ายค่าชดเชยพิเศษถ้าลาออกในที่สุด ลูกจ้างจำนวนไม่น้อยก็
              จำยอมลาออก ถือเป็นเจตนาการทำลายสหภาพแรงงานโดยตรง




                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๑๑





     Master 2 anu .indd   211                                                                     7/28/08   9:19:51 PM
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216