Page 209 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 209

มีหลายกรณีที่นายจ้างชาวต่างประเทศหรือเจ้าของกิจการคนไทยให้ความร่วมมือในการ
              ไกล่เกลี่ยทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันด้วยดี โดยคณะอนุกรรมการ ฯ ร่วมเป็นพยาน เช่น กรณี บริษัท
              เอ็ม เอส พี สปอร์ตแวร์ จำกัด และบริษัท เอ็ม เค เอส จิวเวลรี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
                    มีหลายกรณีที่การตรวจสอบพบว่า นายจ้างละเมิดสิทธิสหภาพแรงงาน ทำให้นายจ้างเร่งรีบ
              เสนอค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน เช่น กรณีบริษัททรงชัยปั่นทอ จำกัด มีบางกรณี
              ที่ลูกจ้างนำรายงานผลการตรวจสอบ ไปเผยแพร่และเคลื่อนไหวกับขบวนการแรงงานระหว่างประเทศ
              หรือบริษัทที่ใช้หลักจรรยาบรรณทางการค้า ทำให้นายจ้างยอมรับการเจรจา หรือรับลูกจ้างกลับเข้า
              ทำงาน เช่น กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดเทร็นด์ส บริษัท ไทยการ์เม้นท์ เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด บริษัทไทย
              อินดัสเตรียล แกส จำกัด (มหาชน) เป็นต้น มีบางกรณีที่การไกล่เกลี่ยนำไปสู่การยกเลิกกฎ ระเบียบ

              ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม เช่น กรณีบริษัท มิกาซ่า อินดัสตรี้ (ไทยแลนด์) จำกัด
              	     ปัญหาและอุปสรรคในการไกล่เกลี่ย มีสาระสำคัญ ดังนี้
              
     (๑) ในการทำงานปีแรก ๆ คณะอนุกรรมการ ฯ ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือในการไกล่เกลี่ย
              และตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเจ้าของกิจการทั้งที่เป็นคนไทยและนักธุรกิจข้ามชาติ ที่ปรึกษากฎหมาย
              ของบริษัทมักจะเน้นให้ไปต่อสู้กันในชั้นศาลมากกว่า เนื่องจากนายจ้างได้เปรียบมากกว่า
                    นายจ้างมักจะส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล หรือลูกจ้างระดับหัวหน้างานที่เป็นคู่ขัดแย้งกับลูกจ้าง
              โดยตรงมาให้ข้อเท็จจริง หรือพยายามส่งที่ปรึกษากฎหมายมาเจรจา ทำให้การไกล่เกลี่ยมีอุปสรรค

              มาก โดยเฉพาะในประเด็นการละเมิดสิทธิสหภาพแรงงาน การเลิกจ้างแกนนำลูกจ้าง หรือมีการ
              กระทำที่ไม่เป็นธรรมต่าง ๆ เช่น การตรวจค้นตัวลูกจ้างโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
                    ทั้งนี้ มีสาเหตุหลายประการ เช่น นายจ้างยังไม่เข้าใจบทบาทภาระหน้าที่ของ กสม.ในฐานะ
              องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เพิ่งเริ่มมีขึ้นใหม่ คิดว่าเป็นหน่วยงานของรัฐทั่วไป หรือคิดว่าไม่จำเป็น
              ต้องมาชี้แจงหรือปรึกษาใดๆ เพราะไปชี้แจงหลายหน่วยงานแล้ว เช่น สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
              จังหวัด กระทรวงแรงงาน หรือคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา บางส่วน
              คิดไปว่า  กสม.จะเข้าข้างแต่ลูกจ้าง  และมองว่านายจ้างต้องการลดทอนหรือมีเจตนาทำลาย
              สหภาพแรงงานอยู่แล้ว หรือบางส่วนเข้าใจว่า กสม.ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบถ้าเรื่องไปถึงศาลแล้ว
              ที่ปรึกษากฎหมายของนายจ้างพยายามปฏิเสธอำนาจการตรวจสอบของ กสม. โดยอ้างมาตรา ๒๒

              แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ทั้ง ๆ ที่ เป็นคนละประเด็นกัน
              กับเรื่องในศาล
                    อย่างไรก็ตาม จากการพยายามประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาทั้งนายจ้างและเจ้าหน้าที่
              ของรัฐในการไกล่เกลี่ย บนหลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชนที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับและตระหนักอย่างไม่อาจ
              หลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งกระแสการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานจากทางสากล เมื่อประกอบกับมี
              ความเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ที่สำคัญของ กสม. ในการเรียกเอกสารและการต้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง
              โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคล และนิติบุคคล ที่มีบทบัญญัติรับรองในกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

              อย่างชัดแจ้ง โดยมีทั้งโทษจำและโทษปรับ ทำให้ระยะต่อมาได้รับความร่วมมือที่จะมาให้ข้อเท็จจริง
              และร่วมมือในการไกล่เกลี่ยจากนายจ้างหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง ทั้งชาวไทยและชาวต่าง
              ประเทศดีขึ้นมาก รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยยังไม่เคยใช้บทลงโทษตามกฎหมายแม้แต่รายเดียว


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๐๙





     Master 2 anu .indd   209                                                                     7/28/08   9:19:40 PM
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214