Page 208 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 208

๙
        บทที่






































              	     นอกจากนี้  มีการจัดทำหนังสือ  จำนวน  ๒  เล่ม  จัดพิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิ
              มนุษยชนแห่งชาติแล้ว คือ
                    ๑)  กรณีศึกษาเรื่อง  การละเมิดสิทธิแรงงานด้านการรวมตัว  และการเจรจาต่อรองร่วม
              (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ และพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๘)
                    ๒) นโยบายการพัฒนากฎหมายแรงงาน (พ.ศ. ๒๕๕๐)

              
ปัญหาและบทเรียนในกระบวนการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน

              	     ๑) การไกล่เกลี่ยบนพื้นฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นงานขั้นต้นที่จำเป็นที่สุด

                    คณะอนุกรรมการ ฯ ตระหนักดีว่า ความขัดแย้งกรณีสิทธิแรงงานเป็นเรื่องที่ต้องมีการจัดการ
              แก้ไขในหลักการที่นายจ้างกับลูกจ้างต้องทำงานด้วยกันต่อไป ไม่ว่าเรื่องการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
              คุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม หรือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อ
              แกนนำสหภาพแรงงาน หรือผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงาน ดังนั้น คณะอนุกรรมการ ฯ จะเริ่มต้นการ
              ตรวจสอบข้อเท็จจริง ประสานการไกล่เกลี่ยระหว่างคู่กรณีเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในระยะยาว
              และลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาของลูกจ้างที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                    หลักการสำคัญในการไกล่เกลี่ยล้วนแต่อยู่บนพื้นฐานการคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตาม

              มาตรฐานแรงงาน ทำงานภายใต้กฎระเบียบและกฎหมายที่เป็นธรรม ไม่ถูกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
              อยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็น
              ภาคี	การแก้ไขปัญหาจะต้องมุ่งคุ้มครองให้ลูกจ้างได้กลับเข้าทำงาน และสามารถดำเนินบทบาท
              สหภาพแรงงานได้ต่อไป มิใช่การจ่ายเงินชดเชยแล้วให้ออกจากงาน


        ๒๐๘  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   208                                                                     7/28/08   9:19:38 PM
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213