Page 201 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 201

การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ







              

๔. การดำเนินการและการเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการ ฯ

                    ๔.๑ การดำเนินการที่สำคัญของคณะอนุกรรมการ ฯ มีตัวอย่าง ดังนี้
              	     ๔.๑ การดำเนินการที่สำคัญของคณะอนุกรรมการ ฯ มีตัวอย่าง ดังนี้

                      (๑) วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จัดประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมศาล
              กลางจังหวัดสมุทรสาครเพื่อตรวจสอบและหามาตรการแก้ไขปัญหากรณีบริษัท  รัญญาแพ้วซีฟู้ด
              จำกัด และนายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของเรือประภาสนาวีละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ

                      แยกพิจารณาเป็น ๒ ส่วน ในส่วนแรก คือการแก้ไขปัญหาในเรื่องสิทธิแรงงาน ส่วนที่สอง
              เป็นเรื่องการดำเนินคดีอาญา และมาตรการเชิงนโยบาย
                      (๒)  จัดสัมมนาหลายครั้งร่วมกับเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน  ด้านแรงงานข้ามชาติ
              สถาบันวิชาการและองค์กรแรงงานไทย เรื่อง แรงงานข้ามชาติ กับปัญหาที่ต้องจัดการ เพื่อผลักดันให้
              เกิดการสร้างกลไกการคุ้มครองทางกฎหมายร่วมกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทุกระดับ
                      (๓) การจัดประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่มีความขัดแย้งในกลุ่มแรงงาน
              ข้ามชาติกับนายจ้าง แต่ผลในที่สุดแรงงานข้ามชาติถูกจับกุมและส่งกลับประเทศต้นทางหลายกรณี

              เช่น กรณีลูกจ้างบริษัท ทออวนเดชาพานิช จังหวัดขอนแก่น กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อำเภอแม่สอด
              จังหวัดตาก และกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่จังหวัดสมุทรสาคร

                    ๔.๒ มาตรการในการแก้ไขปัญหาที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอต่อ กสม.
              	     ๔.๒ มาตรการในการแก้ไขปัญหาที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอต่อ กสม.
              	     	 ให้เสนอต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ	ให้เสนอต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ
                      (๑)  กระทรวงแรงงานและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง  ควรทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องความ
              ต้องการแรงงานที่เป็นแรงงานข้ามชาติ และจัดระบบการบริหารแรงงานที่เหมาะสม สอดคล้องและ

              เป็นธรรม เพื่อป้องกันมิให้เกิดแรงงานผิดกฎหมายจำนวนมากมายดังเช่นที่เป็นอยู่
                      (๒)  จะต้องมีมาตรการในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติให้มีผลในทางปฏิบัติ  โดยเฉพาะ
              อย่างยิ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗
              พระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๑๘
              หากนายจ้างฝ่าฝืนกฎหมาย  กระทรวงแรงงานจะต้องไม่อนุญาตให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการ
              จ้างแรงงานข้ามชาติอีกต่อไป
                      (๓) ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานข้ามชาติ ให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ที่

              ประเทศไทยได้รับจากแรงงานข้ามชาติ  ยอมรับและส่งเสริมให้ลูกจ้างมีตัวแทนหรือมีการจัดตั้ง
              คณะกรรมการหรือองค์กรตามกฎหมาย ใช้มาตรการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือและอาชีพ เพื่อให้
              เกิดความสมานฉันท์ทางด้านแรงงาน
              	     	 (๔) ให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติก่อนใช้มาตรการส่งกลับประเทศต้นทาง
                      (๕) ปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายได้โดย
              สะดวกและเป็นธรรม เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะและมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิมากกว่า
              กลุ่มแรงงานอื่น ๆ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๐๑





     Master 2 anu .indd   201                                                                     7/28/08   9:17:26 PM
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206