Page 199 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 199

การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ







              	     	 (๖) ข้อจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวกับกิจการประมงทะเลนอกน่านน้ำ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                        (๖.๑) เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.
              ๒๕๔๑) ไม่บังคับใช้กับกิจการประมงทะเล ที่มีลูกจ้างน้อยกว่า ๒๐ คน และ เรือประมงที่ไปดำเนิน
              กิจการนอกน่านน้ำไทยเป็นเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
                        (๖.๒) กรณีลูกเรือไม่มีหนังสือคนประจำเรือ (Seaman book) พระราชบัญญัติเรือไทย
              พ.ศ. ๒๔๘๑ กำหนดโทษไว้เพียงกักเรือและให้เจ้าของเรือมาดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง
                      ส่วนเรื่องเรือประมงทะเลที่ประกอบกิจการนอกน่านน้ำอยู่ในความรับผิดชอบของกรมประมง
              การฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารเพื่อประกอบกิจการประมงทะเล โทษตามกฎหมายมี
              เพียงโทษปรับ ๕๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ บาท ซึ่งเจ้าของเรือบางลำยอมถูกปรับ

                        (๖.๓) กรณีตามคำร้องนี้เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกน่านน้ำ เจ้าพนักงานตำรวจ
              จังหวัดสมุทรสาคร จะมีอำนาจดำเนินคดีหรือไม่ พล.ต.ต. สุชีพ หนูนาง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร
              ภาค ๗ ชี้แจงว่า กรณีนี้อาจขออนุมัติต่อสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อสอบสวนคดี แต่ต้องมีการบันทึก
              ข้อเท็จจริงจากผู้เกี่ยวข้องเป็นหนังสือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการสั่งคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด

              	     ๓.๓ ปัจจัยด้านนโยบายของรัฐบาลไทย มีสาระสำคัญ ดังนี้  มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    ๓.๓ ปัจจัยด้านนโยบายของรัฐบาลไทย


                    (๑) รัฐบาลไทยไม่มีมาตรการที่จริงจังและมี
              ประสิทธิภาพในการคุ้มครองและอำนวย
              ความยุติธรรมแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติ เช่น
                    รัฐบาลไทยมีความกังวลใจเกี่ยวกับปัญหา
              ความมั่นคงของชาติ  จึงไม่ส่งเสริมให้เกิดกลุ่ม
              องค์กร  หรือตัวแทนของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
              เพื่อมีส่วนร่วมและช่วยแบ่งเบาภาระประเทศไทย
                    ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนล่าม  ใน
              หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  เช่น  กระทรวง

              แรงงาน และศาลแรงงานในประเด็นสิทธิแรงงาน
              กระทรวงศึกษาธิการในประเด็นสิทธิทางการ
              ศึกษาของเด็ก  และกระทรวงสาธารณสุขใน
              ประเด็นสิทธิทางสุขภาพ เป็นต้น
                    (๒) ในส่วนภาครัฐ แม้ว่ากระทรวงแรงงาน
              ได้กำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไข
              ปัญหากลุ่มแรงงานข้ามชาติ  ซึ่งได้เสนอต่อที่

              ประชุมคณะรัฐมนตรีที่มีการประชุมอย่างเป็น
              ทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่
              ๑๓-๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ มีหลักการสำคัญคือ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๙๙





     Master 2 anu .indd   199                                                                     7/28/08   9:17:06 PM
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204