Page 202 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 202

๘
        บทที่








































              	     ๔.๓ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มีสาระสำคัญ ดังนี้  มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    ๔.๓ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

                      (๑) ให้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
              คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ไม่คุ้มครองกิจการประมงทะเล ที่มีลูกจ้างน้อยกว่า ๒๐ คน และ
              เรือประมงที่ไปดำเนินกิจการนอกน่านน้ำไทยเป็นเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป และกำหนดมาตรการทาง
              กฎหมายเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างในกิจการดังกล่าวให้ได้รับการคุ้มครองทั้งด้านแรงงานและสิทธิ
              มนุษยชน และควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของลักษณะกิจการประมงทะเล
              และกำลังแรงงานส่วนใหญ่ที่เป็นแรงงานข้ามชาติ

                      (๒) ให้ยกเลิกหรือทบทวน มติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ หรือประกาศจังหวัด หรือมาตรการ
              บริหารที่ละเมิดสิทธิของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เช่น
                        (๒.๑) มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๒ พฤษภาคม๒๕๕๐ ที่ผ่อนผันให้ผู้ติดตามแรงงาน
              ต่างด้าว  (แรงงานข้ามชาติ)อยู่ในราชอาณาจักรไทย  เฉพาะบุตร  เนื่องจากขัดกับสภาพความเป็น
              ครอบครัวซึ่งมีทั้งพ่อแม่และลูก
                        (๒.๒) ประกาศจังหวัด เรื่อง การจัดระบบในการควบคุมแรงงานต่างด้าว (แรงงานข้าม
              ชาติ) ซึ่งละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น ห้ามชุมนุมเกิน ๕ คน

              ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ ห้ามออกนอกที่พักเวลา ๒๐.๐๐ น. หรือ ๒๒.๐๐ น. เป็นต้น ที่มีประกาศใน
              จังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง ระยอง และหนังสือเวียนของจังหวัดสมุทรสาคร
              	     	   (๒.๓) ระเบียบกระทรวงแรงงาน ที่ให้แรงงานข้ามชาติเปลี่ยนนายจ้างภายใน ๗ วัน ใน
              กรณีที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้างโดยมิใช่ความผิดของลูกจ้าง เป็นต้น


        ๒๐๒  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   202                                                                     7/28/08   9:17:47 PM
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207