Page 196 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 196
๘
บทที่
สำเนาใบอนุญาตทำงานติดตัว หรือมีไว้ที่สถานที่ทำงาน เพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อมีการ
ตรวจสอบ
ให้นายจ้างควบคุมต่างด้าวโดยใกล้ชิด เช่น ห้ามแรงงานข้ามชาติออกนอกที่พักอาศัยหลังเวลา
๒๐.๐๐-๒๑.๐๐ น. ยกเว้น กรณีที่ต้องทำงานตามสภาพการจ้างหรือต้องทำงานในตอนกลางคืน หรือ
มีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของนายจ้างโดยใกล้ชิด
ห้ามมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือโทรศัพท์มือถือไว้ในครอบครอง เนื่องจากไม่ใช่อุปกรณ์ในการ
ทำงาน หากมีความจำเป็นต้องใช้ นายจ้างต้องจัดทำบัญชีรายชื่อแรงงานข้ามชาติทุกคนผู้ใช้โทรศัพท์
พร้อมหมายเลขโทรศัพท์และชื่อ นามสกุล เจ้าของเครื่องและซิมการ์ดส่งให้จังหวัด หากพบการกระทำ
ที่ฝ่าฝืน จังหวัดจะดำเนินการตรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อนำมาตรวจสอบ
ห้ามขี่รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ และห้ามเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์อนุญาตให้แรงงานข้าม
ชาติขับขี่รถยนต์ของตนเอง
ห้ามเข้าร่วมชุมนุมนอกที่พักอาศัยตั้งแต่ ๕ คน ขึ้นไป หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรม
นายจ้างต้องออกหนังสือรับรอง
นอกจากนี้หนังสือเวียนจังหวัดสมุทรสาคร ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ ขอให้สถานประกอบ
การทุกแห่งควบคุมแรงงานต่างด้าวประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนจะถูก
ดำเนินคดีอย่างเฉียบขาด และไม่สนับสนุนให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมในเทศกาลและงานต่าง ๆ
ทั้งสิ้น จนมีผลกระทบถึงการจัดงานรำลึกชนชาติมอญที่มีปกติทุกปีหมุนเวียนกันไป ส่วนใหญ่เป็นคน
ไทยเชื้อสายมอญ โดยปีนี้จัดที่ จ.สมุทรสาครที่วัดของเจ้าคณะอำเภอ แต่มีมติที่ประชุมกองอำนวย
การรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๑ ประกาศว่าการจัดงาน
ใด ๆ จะต้องจัดในนาม “สมาคมไทยรามัญ” ซึ่งจัดตั้งโดยถูกต้องมีวัตถุประสงค์การจัดชัดเจน มิใช่
จัดในนามชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ซึ่งไม่มีการจดทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย โดยปีนี้จะต้องงดมิ
ให้มีการเล่นดนตรี ร้อง รำ เครื่องดีดสีตีเป่าและงานบันเทิงต่าง ๆ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความ
จงรักภักดีและเคารพในกฎหมายของประเทศ และไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
ร่วมงาน ในงานจะเข้มงวดในการตรวจบัตรประจำตัว, การดื่มสุรา, และการพกพาอาวุธ ตัวหนังสือ
และภาษาที่ใช้ในบริเวณงานให้ใช้ภาษาไทย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่ามีการจัดงานของชนชาติอื่น
ในประเทศไทย
จากการตรวจสอบ คณะอนุกรรมการฯ สิทธิแรงงาน เห็นว่าประกาศจังหวัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
การจัดระบบในการควบคุมแรงงานต่างด้าว เป็นการละเมิดสิทธิหรือเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อ
แรงงานข้ามชาติ สัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา เพราะเจาะจงบังคับใช้กับแรงงานข้ามชาติ เพียง ๓
สัญชาตินี้เท่านั้น
คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าที่มาของการออกประกาศจังหวัดสืบเนื่องมาจากกรอบแนวคิดและ
นโยบายด้านความมั่นคงแห่งชาติหน่วยงานด้านความมั่นคงแห่งชาติเป็นสำคัญ โดยประกาศที่มีลักษณะ
เหวี่ยงแหหรือครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ ๓ สัญชาติทุกคน ไม่ว่ามีการขึ้นทะเบียนแรงงานถูกต้องตาม
กฎหมายหรือไม่ ตลอดจนการเพิ่มอำนาจการควบคุมแรงงานข้ามชาติของนายจ้างได้อย่างกว้างขวางอีก
ด้วย อันเป็นการส่งเสริมให้นายจ้างบังคับใช้แรงงานหรือปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อแรงงานได้มากขึ้น
๑๙๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 196 7/28/08 9:16:20 PM