Page 203 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 203
การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล ดังนี้
(๑) ให้รัฐบาลทบทวนนโยบายในการจ้างแรงงานข้ามชาติโดยคำนึงถึงความจำเป็นแท้จริง มิใช่
ตอบสนองตามความต้องการของผู้ประกอบการฝ่ายเดียว เพื่อป้องกันมิให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติ
โดยไร้ขอบเขตจนอาจกระทบต่อสิทธิการมีงานทำ ความมั่นคงในการทำงานของแรงงานไทย ตลอด
จนสังคมไทยต้องแบกรับภาระมากเกินควร
นอกจากนี้ ให้จัดระบบการจดทะเบียนการจ้างแรงงานข้ามชาติให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
เนื่องจากแรงงานมีการเคลื่อนย้ายตลอดทั้งปีและจัดทำแผนแม่บทในการจ้างแรงงานข้ามชาติ
เชื่อมโยงกับแผนการจ้างงานของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความสมดุลในเรื่องการจ้างงานแรงงานไทย
และแรงงานข้ามชาติ
(๒) ควรสร้างความตระหนักของสังคมไทยให้เคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์
ของแรงงานข้ามชาติ มีความเข้าใจมิติของแรงงานย้ายถิ่นหรือแรงงานข้ามชาติ ตระหนักถึงประโยชน์
ที่ประเทศไทยได้รับจากแรงงานข้ามชาติ
ในขณะเดียวกัน จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิแรงงานในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
ให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศและตามกฎหมายแรงงานของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ สิทธิในเงินทดแทนตามพระราชบัญญัติ
เงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ สิทธิในการรวมตัวตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ
สิทธิในประกันสังคม (ที่เหมาะสม) ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓
(๓) ดำเนินนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาชนในระดับชุมชน และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรของผู้ประกอบการทางธุรกิจ ได้ประสานความร่วมมือและกำหนด
แนวทาง แผนงานและมาตรการในการพัฒนาอาชีพและทักษะฝีมือแรงงาน ทั้งในส่วนแรงงานไทยและ
แรงงานข้ามชาติ และการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการใช้แรงงานข้ามชาติ
ตลอดจนส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรชุมชนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหา
การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ เช่น การขยายขอบเขตงานศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของชุมชน
ให้ครอบคลุมกลุ่มแรงงานข้ามชาติด้วย
(๔) สื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับคนไทยในเรื่องคุณค่าและศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ไม่แบ่งแยก กีดกันหรือเหยียดหยามทางเชื้อชาติ เพราะ
แรงงานข้ามชาติก็ได้มีส่วนพัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทยเช่นกัน
(๕) จัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ
เพื่อพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน และผู้นำแรงงานข้ามชาติให้มีความรู้ความเข้าใจครอบคลุมทุกมิติ
เกี่ยวกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะ สัญชาติพม่า กัมพูชาและลาวทั้งด้านประเทศไทยและ
ประเทศต้นทาง เช่น ล่าม และอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ เพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติอันเป็นการ
แบ่งเบาภาระของรัฐบาลไทยและภาคเอกชน
เนื่องจากทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่มีการใช้แรงงาน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๐๓
Master 2 anu .indd 203 7/28/08 9:17:49 PM